มะเร็งตับ..มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบไว รักษาได้ทัน

 Home
» Knowledge of Health » มะเร็งตับ..มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบไว รักษาได้ทัน แบ่งปันไปยัง facebook

มะเร็งตับ..มะเร็งลำไส้ใหญ่ตรวจพบไว รักษาได้ทัน
         ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้คนเริ่มให้ความสนใจเรื่องโรคมะเร็งมากขึ้น ทั้งในแง่ของการรักษาและการเฝ้าระวังเช่นเดียวกับ”มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร” ซึ่งมีหลายชนิดเนื่องจากระบบทางเดินอาหารของคนเรานั้นประกอบด้วยการทำงานของหลายอวัยวะเริ่มตั้งแต่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไปจนถึงทวารหนักนอกจากนี้ยังมีอวัยวะอื่นๆซึ่งเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหารอีก เช่น การกลืนอาหารลำบาก อาการปวดท้อง การขับถ่ายที่ผิดปกติ การมีตาเหลืองขึ้นหรือภาวะดีซ่านซึ่งป็นอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับหรือมะเร็งท่อน้ำดี ตามลำดับนอกจากนี้ยังมีอาการโดยรวมที่พบได้ในโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด คืออาการเบื่ออาหารรับประทานอาหารได้ลดลง และภาวะน้ำหนักที่ลดลง

มะเร็งตับ
  
เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรังนำมาสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แม้ว่าความก้าวหน้าของการรักษาจะดีขึ้นมากแต่พบว่าผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่อการดำเนินโรคไปไกลแล้ว ทั้งนี้หากพบโรคในระยะเริ่มต้น
สำหรับการเฝ้ามะเร็งตับนั้นในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย กลุ่มแพทย์สหสาขาได้แก่ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร,อายุรแพทย์โรคมะเร็ง,ศัลยกรรมแพทย์และรังสีแพทย์ ได้มีแนวทางร่วมกันในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ โดยดูจากกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ กลุ่มผู้ทีเป็นโรคตับแข็งและกลุ่มที่ยังไม่ตับแข็ง คือ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ และผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่มีพังผืดในตับอย่างน้อยระดับ 3 โดยคนกลุ่มนี้ควรได้รับการทำอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบนอย่างน้อยทุก 6-12 เดือนหรือร่วมกับการตรวจเลือดดูระดับAFP(Alfa-fetoprotein)อย่างน้อย 6-12 เดือน
   การที่จะทราบว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับหรือไม่นั้น สามารถสังเกตได้จากอาการบางอย่าง โดยผู้ที่เป็นโรคตับแข็งอาจมีอาการตาเหลือง ท้องโตหรือท้องมานมีจุดเส้นเลือดคล้ายใยแมงมุมขนาดเล็กที่บริเวณหน้าอก แต่ผู้ทีเป็นโรคตับแข็งในระยะต้น หรือกลุ่มผู้ที่ยังไม่ป็นโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนให้ดูจากความเสี่ยง เช่น การดื่มสุรา การเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เหล่านี้ต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติม เช่น การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจเลือดดูจากการทำงานของตับ การตรวจเลือดค้นหาไวรัสตับอักเสบบีและซีทำอัลตร้าซาวน์ตับ และหากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ควรเริ่มรักษาความเสี่ยงโดยการรักษาไวรัสตับอักเสบที่ตรวจพบการเลิกดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเข้าสู่กระบวนการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับตามวิธีกล่าวไปข้างต้น และหากคัดกรองแล้วพบสิ่งที่สงสัยมะเร็งตับ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ ซึ่งหลายวิธีทั้งการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ
   ด้านการรักษามะเร็งตับในปัจจุบันหากคัดกรองพบโรคระยะต้นๆ การรักษาจะมุ่งเน้นเพื่อโอกาสของการหายขาดหรือการมีอายุที่ยืนยาวขึ้น เช่น การผ่าตัดตับการเปลี่ยนตับ แต่หากตรวจพบในระยะที่โรคดำเนินไปไกลแล้ว เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อควบคุม เช่นการทำลายก้อนมะเร็งตับเฉพาะที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สภาพการทำงานของตับ และสภาวะของผู้ป่วย โดยบางรายอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน

มะเร็งลำไส้ใหญ่
  
หากจะกล่าวถึงมะเร็งในระบบทางเดินอาหารก็ต้องกล่าวถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุด ของโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารคือพบเป็นอันดับต้นๆทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ที่เป็นมะเร็งนี้ในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการที่ชัดเจน ทำให้โรคดำเนินไปจนถึงระยะที่แสดงอาการ  เช่น การขับถ่ายที่ผิดปกติ ถ่ายลำบาก มีมูกเลือดปนในอุจจาระ อาจมีอาการปวดท้อง เบื่อหารและน้ำหนักลด
   สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีทั้ง ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น การมีประวัติบุคคลครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ การเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังบางชนิด และปัจจัยเสี่ยงทางด้านภาวะแวดล้อม เช่น ภาวะอ้วน การบริโภค เนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป และการสูบบุหรี่
   การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธีเช่น การตรวจหาเลือดออกแฝงในอุจจาระ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้หากพบว่าผลเป็นบวกควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป การส่องกล้องลำไส้ใหญ่สามารถตรวจหาติ่งเนื้อได้ตลอดทั้งลำไส้ใหญ่  และหากพบรอยโรคผิดปกติ หรือติ่งเนื้อ ก็สามารถตัดชิ้นเนื้อหรือติ่งเนื้อออกได้ทางกล้อง  และนำไปตรวจทางพยาธิต่อไป

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่
  
ข้อดีคือ
ตรวจลำไส้ใหญ่ได้ตลอดลำไส้เห็นพยาธิสภาพนอกลำไส้ใหญ่ได้ตลอดลำไส้  หากพบติ่งเนื้อหรือรอยโรคที่ผิดปกติจากการตรวจด้วยวิธีนี้ ควรได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อตัดติ่งเนื้อหรือตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิและทำการรักษาต่อไป นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาดีเอ็นเอที่ผิดปกติในอุจจาระ
  
ซึ่งคัดกรองในกลุ่มบุคคลทั่วไปสามารถเริ่มตั้งแต่อายุ 50-85 ปี โดยการเลือกวิธีตรวจคัดกรองแบบใดนั้น ขึ้นกับการตัดสินใจของผู้ป่วยร่วมกับความเห็นของแพทย์ และความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละรายโดยความถี่ของการตรวจขึ้นกับชนิดของวิธี  การตรวจ  เช่น แนะนำตรวจหาเลือดออกแฝงในอุจจาระทุก 1 ปี  ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ทุก 5 ปี หรือการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก 10 ปี แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยที่เสี่ยงสูง  เช่น โรคมะเร็งพันธุกรรม หรือลำไส้อักเสบเรื้อรังควรเข้ารับการตรวจคัดกรองให้เร็วขึ้นตามความเห็นของแพทย์
    สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กรณีเป็นเพียงติ่งเนื้อหรือติ่งเนื้อมะเร็งระยะต้น การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และตัดติ่งเนื้อออกไป  เป็นการรักษาอย่างหนึ่ง ระยะถัดมาที่ไม่สามารถตัดออกได้ทางกล้อง คือการผ่าตัด ร่วมกับการใช้รังสีรักษา หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ในระยะที่มีการแพร่กระจายนอกจากการใช้ยาเคมีบำบัด ยังมีการใช้ยากลุ่มใหม่คือยารักษามุ่งเป้าระดับโมเลกุลอีกด้วย โดยในการรักษาเพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ต้องอาศัยการร่วมมือของทีมแพทย์สหสาขาทั้งอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ศัลยแพทย์และแพทย์รังสีรักษา จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้บ่อย ไม่ใช่โรคที่ไกลตัว และหากมีการคัดกรองโรคตั้งแต่แรกเริ่ม ก็มีโอกาสรักษาหายขาด หรือเพิ่มโอกาสการมีอายุที่ยืนยาว ดังนั้นหากพบว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวมีความเสี่ยงควรรีบปรึกษาแพทย์


สอบถามและขอคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์ส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
โทร 081-572-4637, 095-367-6155  (ติดต่อคุณจินตนา   กมลสาร)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ