นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ แบ่งปันไปยัง facebook

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

             นิ่วเกิดจากการที่สารบางชนิด เช่น กรดยูริก ออกซาเลต หรือแคลเซียม เข้าไปอุดตันอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และไต ทำให้เกิดการขัดขวางทางเดินของน้ำปัสสาวะ ปัจจุบันพบว่านิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี โดยจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์

            ให้บริการตรวจวินิจฉัยนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง นอกจากนี้ยังพัฒนาการผ่าตัดรักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะด้วยการส่องกล้อง ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสลายนิ่วด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย  ซึ่งไม่ทำให้เกิดแผลหรือมีแผลขนาดเล็กมาก ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

 

สาเหตุของการเกิดนิ่ว 

   1. กรรมพันธุ์
   2. ความผิดปกติของต่อมพาราทัยรอยด์
   3. ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การตีบแคบของท่อปัสสาวะ
   4. การดื่มน้ำน้อย หรือการสูญเสียน้ำจากร่างกายมาก
   5. การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกหรือสารออกซาเลตมากเกินไป
   6. การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
   7. ยาบางชนิด

อาการ

   1. ปัสสาวะลำบากหรือแสบขัด
   2. ปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปน
   3. ปวดบริเวณบั้นเอวหรือท้อง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนิ่ว

การตรวจวินิจฉัย

   1. การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ
   2. การตรวจปัสสาวะเพื่อค้นหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
   3. การตรวจอัลตราซาวด์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อตรวจหาความผิดปกติ (Ultrasound KUB System)
   4. การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย เพื่อดูรูปร่าง ลักษณะ และตำแหน่งของผลึกหรือก้อนนิ่ว (Plain KUB System)
   5. การถ่ายภาพรังสีร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous Pyelography - IVP)
   6. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (CT KUB System)

การรักษา

   การรักษาขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของนิ่ว นิ่วที่ไม่สามารถหลุดออกมาได้เอง มีแนวทางการรักษาหลายวิธี ได้แก่

1.การรับประทานยาละลายนิ่ว เหมาะสำหรับนิ่วชนิดยูริกที่สามารถละลายได้โดยการให้ยา      
2.การสลายนิ่วโดยการใช้คลื่นกระแทก (ESWL: Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy)

    คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่ต่ำส่งผ่านผิวหนังไปยังก้อนนิ่ว เพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และไหลหลุดออกมากับปัสสาวะได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง การสลายนิ่วโดยการใช้คลื่นกระแทก ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการรักษานิ่วในไตและท่อไต 
  

3. การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องหรือกรอนิ่วในท่อไต (URS: Uretero-renoscope)

    วิธีนี้ไม่ทำให้เกิดแผล เนื่องจากเป็นการส่องกล้องผ่านทางรูท่อปัสสาวะที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และใช้เครื่องมือคล้องนิ่วหรือกรอนิ่วให้มีขนาดเล็กลง เหมาะสำหรับการรักษานิ่วในท่อไต
  

4. การส่องกล้องเพื่อกรอนิ่วในไต (PCNL: Percutaneous Nephrolithotomy)

    เป็นวิธีการรักษานิ่วในไตที่พัฒนามาเพื่อเลี่ยงการผ่าตัด ซึ่งจะใช้วิธีเจาะรูเล็กๆ จากผิวหนังเพื่อผ่านเข้าไปในกรวยไต โดยจะใช้กล้องและเครื่องมือสอดตามเข้าไปกรอนิ่วให้แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และดูดหรือคีบนิ่วออกมา เหมาะสำหรับนิ่วในไตที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่

 5. การขบนิ่ว (Cystolithotripsy)

    เป็นการใส่เครื่องมือเข้าไปทางท่อปัสสาวะ เพื่อขบนิ่วให้แตกแล้วนำออกมา โดยไม่ทำให้เกิดแผลใดๆ ซึ่งจะใช้เพื่อรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ 

ทีมแพทย์

    นพ.ปิยวัฒน์ ตันธนาธิป  ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา (ระบบทางเดินปัสสาวะ)

    นพ.พิมพ์พล หงษ์ทอง   ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา (ระบบทางเดินปัสสาวะ)

    นพ.พิชิต วีระวุฒิพล     ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา (ระบบทางเดินปัสสาวะ)

    พญ.ศศิญา เกิดกล้า     ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา (ระบบทางเดินปัสสาวะ)   

    นพ.วิรุณ โทณะวณิก    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการฝังแร่มะเร็งต่อมลูกหมาก

 


 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ