ทารกน้ำหนักตัวน้อย

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » ทารกน้ำหนักตัวน้อย แบ่งปันไปยัง facebook

ทารกน้ำหนักตัวน้อย

หมายถึง ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ซึ่งรวมทั้งทารกที่คลอดก่อนกำหนด คืออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และทารกครบกำหนดคือ มีอายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์

 

สาเหตุ

  1. สาเหตุจากมารดา ได้แก่

- มารดาอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี

- การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ซิฟิลิส, เริม ) ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

- มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น

- ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ

- พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่หรือใกล้ชิดคนสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

- ภาวะทุพโภชนาการ

- การตั้งครรภ์เสี่ยง เช่น ครรภ์แฝด

- ประวัติมีบุตรน้ำหนักตัวน้อยมาก่อน

- ความผิดปกติของมดลูกหรือปากมดลูก

- น้ำเดินก่อนคลอด

- มีภาวะเลือดข้นขณะตั้งครรภ์

  1. สาเหตุจากตัวทารกเอง ได้แก่

- การติดเชื้อในครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส

- ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย

- ความพิการแต่กำเนิด

 

ปัญหาที่พบเมื่อทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย

- ระบบทางเดินหายใจของทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ปอดอาจจะยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทำให้มีภาวะหายใจลำบากตั้งแต่แรกเกิดได้

- การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เนื่องจากทารกมีผิวหนังค่อนข้างบาง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย ทำให้สูญเสียความร้อนได้มาก เกิดภาวะตัวเย็นได้ง่าย

- ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่างๆได้ไม่ดี ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต

- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทารกที่น้ำหนักน้อยยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

- ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันเลือดต่ำ จึงเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้ง่าย

 

วิธีป้องกันทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

- คนท้องต้องรับประทานอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หลีกเลี่ยงการทำงานหนักและต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ

- ที่สำคัญคือการไปฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆกับสูตินรีแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และตรวจดูความเสี่ยงต่างๆในการตั้งครรภ์ เพื่อการดูแลที่ดีและถูกต้อง

- มาฝากครรภ์สม่ำเสมอเพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ