โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือโรค BPPV

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือโรค BPPV แบ่งปันไปยัง facebook

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หรือโรค BPPV (Benign Paroxysmal Positional Vertigo)

ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ อาจเคยมีอาการวิงเวียนศีรษะ โคลงเคลง หรือที่เราเรียกกันว่า บ้านหมุน” กันอยู่บ้าง ซึ่ง โรค BPPV” ก็อาจเป็น 1 ในสาเหตุของอาการดังกล่าวได้

ภายในหูชั้นในจะมีอวัยวะควบคุมการทรงตัว ได้แก่ Utricle, Saccule และ Semicircular canal ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับท่อครึ่งวงกลม ในส่วน utricle จะมีตะกอนหินปูน (Otoconia) ซึ่งมีหน้าที่รับรู้การเคลื่อนที่ของศีรษะเกาะอยู่ แต่หากหินปูนดังกล่าวเกิดหลุดและไปเคลื่อนที่ไปมาอยู่ในส่วน Semicircular canal ส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุนได้

 

สัญญาณเตือนว่าคุณอาจเป็นโรค BPPV นั้นมีอะไรบ้าง ?

วิงเวียน โคลงเคลง เสียการทรงตัว และรู้สึกเหมือนสิ่งแวดล้อมภายนอกเคลื่อนไหว โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็ว เช่น ก้มๆ เงยๆ หรือเอียงคอ

บางรายอาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่นาน แล้วจะค่อยๆเบาลง อาจจะเป็นๆหายๆ บางรายนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนก็ได้

 

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค BPPV ?

  • ความเสื่อมตามอายุ
  • มีการติดเชื้อที่หูชั้นใน
  • มีการผ่าตัดหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน
  • มีการเคลื่อนไหวศีรษะอย่างรวดเร็วซ้ำๆ
  • เกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระแทกบริเวณศีรษะ
  • มีโรคหรือความผิดปกติที่หูชั้นใน เช่น หูชั้นในอักเสบ

 

มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้อาการของโรค BPPV รุนแรงมากขึ้น ?

  • อารมณ์เครียด
  • อาการเมารถ เมาเรือ
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • กิจกรรมที่ต้องก้มเงยศีรษะบ่อยๆ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
  • การเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศ

 

โรค BPPV มีวิธีการรักษาอย่างไร ?

  • การรักษาด้วยยา เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติ ก่อนจะทำการรักษาในขั้นต่อไป
  • การทำกายภาพบำบัด จะเน้นฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะและลำคอ เพื่อให้ตะกอนหินปูนเคลื่อนกลับเข้าที่เดิม
  • การผ่าตัด มักใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล

 

การป้องกันโรค BPPV ทำได้อย่างไร ?

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวศีรษะเร็วๆ
  • ป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อโรคในหู
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ