สารเคมี

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » สารเคมี แบ่งปันไปยัง facebook

   สารโลหะหนัก หมายถึงโลหะที่เป็นพิษ  การที่มีโลหะหนักในร่างกายจะส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับพิษจากโลหะชนิดนั้นๆ ทั้งพิษแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และอาจทำให้เราเจ็บป่วยหรือเป็นโรคบางอย่างได้ ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าไป

   การตรวจวัดปริมาณโลหะหนักในร่างกาย มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงว่าเรามีโลหะหนักชนิดนั้นๆ อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการวางแผนการดูแลสุขภาพระยะยาวได้ ถ้าเราอยากทราบปริมาณโลหะหนักในร่างกายสามารถเจาะเลือดหรือเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษได้


ใครบ้างที่มีความเสี่ยง มีสารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย

  1. คนที่ทำงานหรืออยู่ในแหล่งสัมผัสสาร เช่น โรงงานแบตเตอรี่ ช่างทอง ช่างเชื่อม บ้านอยู่ในเขตที่มีการปนเปื้อน
  2. ผู้ที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม
  3. ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ
  4. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ
  5. ผู้ที่ชอบทำสีผมทำเล็บ
  6. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารทะเลที่มาจากแหล่งปนเปื้อนน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม
  7. ผู้ที่มีวัสดุอุดฟันที่ใช้สารอะมัลกัม
  8. ผู้ที่รับประทานผักผลไม้ที่การปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเป็นประจำ

การเตรียมตัวก่อนใช้บริการ

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง

  2. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง         

 โลหะหนักที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน คือ

    Tin (Sn) หรือดีบุกเป็นธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติ แต่จะพบดีบุกในดินและอาหารต่างๆในปริมาณน้อย ดีบุกใช้ในการผลิตกระป๋อง ตะกั่วขัดสี เหล็ก ท่อทองแดง กระป๋องบรรจุอาหารทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเหล็ก และเคลือบทับด้วยสารสังเคราะห์บางประเภทอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันดีบุกละลายผ่านออกมา แต่หากนำไปบรรจุอาหารที่มีสารบางชนิดปนอยู่หรือการเก็บอาหารกระป๋องในที่ร้อน ดีบุกจะละลายมาในอาหารได้ นอกจากนั้นเมื่อเปิดกระป๋องแล้วออกซิเจนจากอากาศจะเป็นตัวเร่งให้ดีบุกละลายมากขึ้น อาหารกระป๋องจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับธาตุดีบุกมากกว่าอาหารประเภทอื่น พิษเฉียบพลัน ของดีบุก จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินและมีไข้

อลูมิเนียม (Aluminium)

     ถือเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน สำหรับภาคอุตสาหกรรมใช้ในการผลิตอลูมิเนียมผสม และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ส่วนภาคครัวเรือนมีใช้มากในการก่อสร้าง และตกแต่งบ้าน ทดแทนไม้ และเหล็ก เนื่องจากเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติคงทนต่อการหัก ความร้อน การกัดกร่อน น้ำหนักเบา และมีความสามารถในการสะท้อนแสง และความร้อนได้ดี มักใช้ในงานก่อสร้าง งานตกแต่ง เช่น การทำประตู หน้าต่าง ฝ้า ราวกั้น และโครงสร้างต่างๆ สำหรับผลกระทบของผู้ได้สัมผัส หรือเข้าใกล้ ฝุ่นอลูมิเนียม จะมีอาการแสบตา ระคายเคืองจมูก ปวดหัว วิงเวียนศรีษะ และคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งหากได้รับในปริมาณมาก จะทำให้เกิดโรงมะเร็ง

อะซิโตน (Acetone)

     เป็นของเหลวใสไม่มีสีระเหยเป็นไอได้ดีมีกลิ่นคล้ายมิ้นท์ติดไฟได้ง่ายกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมสำหรับใช้เป็นตัวทำละลายสารต่างๆ สามารถผลิต และสกัดได้จากธรรมชาติและการสังเคราะห์ทางเคมีจากปิโตรเลียมทั้งยังไม่กัดผิวหนัง

    โทษ

  1. ระบบหายใจ : ทำให้เกิดอาการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ มีอาการไอ แน่นหน้าอก เวียนศรีษะ
  2. ทางผิวหนัง : ผิวหนังแดง อักเสบ มีอาการปวดแสบปวดร้อน
  3. สัมผัสกับตา : ทำให้ตาระคายเคือง น้ำตาไหล มีอาการตาแดง และปวดตา
  4. การกลืนกิน : ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ปวดหัว

ประโยชน์

    ในอุตสาหกรรมใช้เป็นตัวทำละลายในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเคมี ผลิตยา ผลิตสี หมึกพิมพ์ น้ำมันขัดเงา กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น เรซิน Bisphenol A สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกหลายชนิด เช่น โพลีคาร์บอเนต โพลียูรีเทน และเรซิน เป็นต้น

การป้องกัน  ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงขณะปฏิบัติงาน ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกันสารเคมี และสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดทุกครั้ง

โทลูอีน (Toluene) 

เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย คล้ายกลิ่นเบนซีน  ใช้มากในอุตสาหกรรมต่างๆสำหรับเป็นตัวทำละลาย และเป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตสารชนิดอื่นๆ

อันตราย   
       1. ระบบหายใจ : ทำให้รู้สึกมึนงง มีอาการประสาทหลอน เมื่อสูดดมมากจะทำลายระบบประสาท และสมอง

  1. ทางผิวหนัง : เมื่อสัมผัสกับหนังจะทำให้ผิวหนังแดง อักเสบ มีอาการปวดแสบ
  2. สัมผัสกับตา : เมื่อสัมผัสกับตาจะทำให้ตาระคายเคือง มีอาการตาแดง และปวดตา
  3. การกลืนกิน : จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีอาการมึนงง

การป้องกัน :  ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงขณะปฏิบัติงาน ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกันสารเคมี และสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดทุกครั้ง

ประโยชน์   

   1.ใช้เป็นส่วนผสมของยามะตอย

   2.ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสีพ่นรถยนต์ สีทาบ้าน สีสเปรย์ สีย้อม น้ำมันขัดเงา เรซิน แลกเกอร์ วานิช กาว ยาง พลาสติก พรมน้ำมัน และการทำเครื่องเรือน

   3.ใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมีหลายชนิด เช่น ผลิตกรดเบนโซอิค ยารักษาโรค ซัคคาริน เบนซีน ฟีนอล น้ำหอม เครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลง และวัตถุระเบิด

 

Methanol, Methyl Alcohol,  MeOH

            เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นพิษ นิยมใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้เป็นเชื้อเพลิง ในธรรมชาติ (เมทานอลผลิตจากของเสียเพื่อทำเป็นก๊าซชีวภาพ)

อันตราย

  1. ระบบหายใจ : ทำให้รู้สึกมึนงง มีอาการประสาทหลอน เมื่อสูดดมมากจะทำลายระบบประสาท และสมอง
  2. ทางผิวหนัง : เมื่อสัมผัสกับหนังจะทำให้ผิวหนังแดง อักเสบ มีอาการปวดแสบ
  3. สัมผัสกับตา : เมื่อสัมผัสกับตาจะทำให้ตาระคายเคือง มีอาการตาแดง และปวดตา
  4. การกลืนกิน : จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีอาการมึนงงประโยชน์ : เป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่กินไม่ได้ ใช้เป็นตัวทำละลายในงานอุตสาหกรรม เช่น เช็ดล้างพลาติก เป็นส่วนผสมทำกาวสำหรับไม้อัด ส่วนผสมใบไบโอดีเซล (biodiesel)

การป้องกัน : ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงขณะปฏิบัติงาน ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกันสารเคมี และสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดทุกครั้ง

แคดเมียม Cadmium

            โรงงานอุตสาหกรรมได้ใช้แคดเมี่ยม ในการทำหม้อแบตเตอรี่อัลคาไลน์ โลหะผสมสีและพลาสติกตลอดจนใช้เป็น ยาฆ่าแมลง การหลอมโลหะ เช่น หลอมตะกั่ว ทองแดงและสังกะสี จะมีฝุ่นไอของแคดเมี่ยมฟุ้งกระจายในรูปของไอควัน เป็นอันตรายแก่คนงานใน โรงงานนั้นๆ ได้

อันตรายชนิดเฉียบพลัน  

  1. ระบบหายใจ : ทำให้เกิดอาการไอ เจ็บหน้าอกเหงื่อออกและสั่น
  2. การกลืนกิน : เกิดอาการคลื่นเหียนอาเจียน และท้องร่วง มีอาการเหมือนอาหารเป็นพิษ

อันตรายชนิดเรื้อรัง        

       การได้รับแคดเมี่ยมไม่ว่าจะเป็นการหายใจ กินหรือดูดซึมเข้าทางผิวหนังอยู่เป็นประจำ เมื่อแคดเมี่ยม เข้าสู่ระบบการไหลเวียนของโลหิตแล้วก็จะไปทำลายปอดทำให้ปอดบวมทำลายตับและไต มีอาการเจ็บหัวเข่า และปวดตามกระดูกทั่วร่างกายมี ปัสสาวะสีขาวข้นเนื่องจากไตถูกทำลายกระดูกจะเปราะมากเพราะว่าแคดเมี่ยมในกระดูกถูกทำลาย

 

โครเมี่ยม (Chromium)

     สารโครเมี่ยม สามารถนำมาใช้งานด้านอุตสาหกรรมได้อย่างกว้างขวาง โดยนำมาผสมกับโลหะทำ ให้เกิดความแข็งแรงมีความเหนียวทนทานทำให้โลหะไม่เป็นสนิมทนต่อการผุกร่อน

อันตราย

  1. ระบบหายใจ : ลิ้นและฟันจะเปลี่ยนเป็นสีออกเหลืองๆถ้าเป็นมากจะทำให้ผิวหนังกั้นในจมูก ถูกทำลายจนเป็นรูทะลุ ซึ่งการทะลุของแผ่นกั้นจมูกนี้ จะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่จะรู้ตัวเมื่อมีเสียงอู้อี้หรือดั้งจมูกแบนลงแล้วเท่านั้น
  2. ทางผิวหนัง : เมื่อสัมผัสกับหนังจะทำให้มี รอยถลอกของ ผิวหนังพบมากที่สุดที่โคนเล็บมือ ตามข้อนิ้วมือหรือหลังเท้ามีลักษณะเป็นแผลวงกลม ขอบค่อนข้างบาง บุ๋มลึกลงไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ1 เซนติเมตร หรือเล็กกว่า มองดูคล้ายถูกตะปูเจาะ

ประโยชน์ : โลหะโครเมี่ยมบริสุทธิ์ใช้มากในอุตสาหกรรมชุบ ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาอุตสาหกรรมฟอกหนัง การย้อมสีขนสัตว์

 

ตะกั่ว Lead

    สารตะกั่ว เป็นแร่โลหะชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ มีลักษณะเป็นของแข็งสีเงินเทาหรือแกมน้ำเงิน พบได้ในดิน น้ำ และแหล่งสายแร่ต่าง

อันตราย           

  1. สารตะกั๋ว มีผลต่อสมอง และการติดต่อของเซลล์ประสาท หากพบสารตะกั๋วเพิ่มขึ้น ทำให้ IQ ลดลง
  2. มีผลต่อเม็ดเลือดแดงทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเป็นโลหิตจาง และมีผลต่อการทำงานของไตการป้องกัน
  3. สถานประกอบการต้องลดเวลาการสัมผัสกับแหล่งสารพิษตะกั่ว จัดการทำงานเป็นกะ
  4. ติดตั้งอุปกรณ์ดูดลมหรือไอพิษที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
  5. การสวมใส่ชุด และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากาก ผ้าปิดจมูก ถุงมือ ถุงเท้า เป็นต้น
  6. ไม่ควรรับประทานอาหาร น้ำดื่ม จากแหล่งแร่หรือน้ำที่มาจากบริเวณไกล้เคียงของแหล่งแร่ต่างๆ รวมถึงสัตว์น้ำที่อยู่บริเวณใกล้เคียงของแหล่งแร่ที่มีการปนเปื้อนของตะกั่วอยู่

ประโยชน์ : ตะกั่วมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดีจึงนิยมนำมาใช้มากในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมทำสี และอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่

ไซลีน (xylene)

    เป็นสารประกอบที่มีการใช้มากในอุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสี สารเคลือบเงา และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวทำละลายต่างๆ ถือเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีพิษต่อมนุษย์

อันตราย  :  มีผลไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการความจำเสื่อม หวาดกลัว กระวนกระวาย อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ เบื่ออาหาร ทรงตัวลำบาก คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังแห้ง และเกิดโรคผิวหนัง มักพบเป็นโรคไตร่วมด้วย

ประโยชน์ : ใช้ในการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก และผลิตเส้นใยสังเคราะห์ เป็นส่วนผสมในการผลิตทินเนอร์ แลคเกอร์ สี วาร์นิช หมึกพิมพ์ กาว เรซิน ยาง น้ำยาทำความสะอาด และใช้สำหรับฟอกสีในอุตสาหกรรมกระดาษพิษเฉียบพลัน

การป้องกัน : ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงขณะปฏิบัติงาน ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกันสารเคมี และสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดทุกครั้ง


สารหนู (Arsenic/As)

    เป็นธาตุกึ่งโลหะที่มีจัดเป็นธาตุที่พบมากเป็นลำดับที่ 20 ของโลก เป็นสารที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากในด้านต่างๆ อาทิ ยารักษาเนื้อไม้ ยาฆ่าแมลง ส่วนผสมในอาหารสัตว์ เช่น ในอาหารสุกร และไก่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

อันตราย           

  1. แบบเฉียบพลัน (Acute Toxicity) ถ้าเกิดจากการกิน ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ คลื่นไส้อาเจียน และท้องร่วง ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรงอุจจาระอาจมีเลือดปน คนไข้จะอ่อนเพลีย อาจเกิดอาการช็อก และเสียชีวิตได้
  2. แบบเรื้อรัง (Chronic Toxicity) ถ้าเกิดจากการกินหรือหายใจจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ตับอาจถูกทำลาย นอกจากนี้อาจมีอาการทางผิวหนัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของผิวหนัง ทำให้หนังด้าน อาการนูนบวมแข็งอาจจะเป็นสาเหตุของมะเร็งที่ผิวหนังได้

การป้องกัน       
       1. ควรดื่มน้ำที่สะอาดและผ่านการกรอง
       2. ต้องล้างทำความสะอาดอาหารหรือวัตถุดิบใด ๆ ก่อนนำไปปรุงหรือรับประทาน นอกจากนี้ 
       3.ผู้ที่ต้องทำงานหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากสารหนู ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่เพาะปลูกในพื้นที่ รวมทั้งสวมใส่หน้ากากกันสารพิษเพื่อป้องกันการได้รับสารหนูจากการหายใจ

ประโยชน์ : มีการใช้สารหนูในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการแพทย์ โดยเฉพาะใช้ในด้านเกษตรกรรมเป็นยาฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืช โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารหนูก็ได้แก่ โรงงานย้อมผ้า โรงงานทำสี ทำดอกไม้เพลิง โรงงานพิมพ์ดอกผ้า โรงงานผลิตแก้ว โรงงงานผสมตะกั่วกับสารหนูเพื่อให้เนื้อตะกั่วแข็งขึ้น โรงงานทำผงซักฟอก

 

แมงกานีส Manganese

      เป็นโลหะที่แข็งมากแต่เปราะง่าย  สีเทาขาวเหลือบแดง ความหนาแน่น แมงกานีสจะมีอยู่ใน ธรรมชาติ  โดยจะพบร่วมกับแร่เหล็ก  แมงกานีสมีอยู่ในน้ำ  ผิวดินและน้ำใต้ดิน โลหะแมงกานีส ได้จากการ รีดิวซ์แมงกานีสออกไซด์  จากสินแร่ธรรมชาติ ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ใช้คาร์บอนโซเดียม อะลูมิเนียม หรือ อิเล็กโทรไลต์

อันตราย            

  1. อาการแบบเฉียบพลัน การสูดหายใจเอาไอแมงกานีส สามารถก่อให้เกิดไข้ไอโลหะ   ก่อให้เกิด การระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อการสัมผัสกับแมงกานีสทำให้เกิดอาการไหม้ของผิวหนัง  ปวดศีรษะ   คลื่นไส้ ท้องเสีย หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก และปอดอักเสบ
  2. อาการแบบเรื้อรัง มีอาการเรื้อรังทางระบบประสาท เซื่องซึม ง่วงนอน ขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ เคลื่อนไหวลำบากคล้ายโรคพาร์กินสัน

การป้องกัน       

  1. 1. ติดตั้งเครื่องดูดอากาศเฉพาะที่ให้บริเวณที่เกี่ยวข้องกับแมงกานีส เช่น ที่มีการบด การร่อน การบรรจุ หรือบริเวณที่มีการหลอมเหลวเหนียวผสมแมงกานีส เพื่อการดูดฝุ่นหรือไอระเหยของแมงกานีสออกไปจากบริเวณปฏิบัติงาน
  2. ห้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับแมงกานี้ควรแยกออกจากห้องปฏิบัติงานอื่น ๆ เพื่อลดจำนวนคนงานที่รับพิษให้น้อยลง และต้องหมั่นดูแลรักษาบริเวณให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ

ประโยชน์ :        

  1. ในทางโลหะกรรม โดยนำมาผสมกับเหล็ก เพื่อทำให้เหล็กนั้นมีความเหนียว ยืดหยุ่น และคงทนยิ่งขึ้น เช่น รางรถไฟ หัวขุด หัวเจาะ เหล็กทุบ ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการทำให้เหล็กบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น

       2.การผลิตวัสดุภัณฑ์เคมี จำต้องใช้แร่แมงกานีสเป็นตัวสำคัญ เช่น การทำสี ปุ๋ยสังเคราะห์ ผสมในการทำอิฐแมงกานีสจะทำให้อิฐทนความร้อนสูง เป็นต้น

 

ปรอท Mercury

            เป็นของเหลวสีขาวคล้ายเงิน เมื่อแข็งตัวจะมีคุณสมบัติคล้ายกับโลหะทั่วไป มีความมันวาว สะท้อนแสง และเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี มีคุณสมบัติละลายโลหะชนิดอื่นได้  โลหะปรอทจัดเป็นสารพิษ โดยเฉพาะในสถานะเป็นไอ แต่ในสถานะของเหลวไม่เป็นพิษมากนัก เพราะแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อได้น้อย

อันตราย            

  1. พิษเฉียบพลัน อาการที่แสดงจากสารระเหยปรอท ได้แก่ เหงือกอักเสบ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีอาหารหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง มีเลือดออกในอวัยวะ ถ่ายเป็นเลือด เนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหารอักเสบ เนื้อเยื่อไตถูกทำลาย กล้ามเนื้อสั่นกระตุก และมีอาการทางระบบประสาท และเสียชีวิตได้ทันที
  2. พิษเรื้อรัง สารระเหยปรอท หากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีพิษต่อระบบประสาท แสดงอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง คล้ายกับโรคคอพอก

การป้องกัน       

  1. 1. สวมเสื้อคลุมและถุงมือ เมื่อต้องจับหรือสัมผัสปรอท
  2. จัด ให้มีการระบายอากาศในบริเวณที่ต้องใช้ปรอทเพื่อดูดเอาไอของปรอทที่กระจาย อยู่ในบรรยากาศออกไปและทำการกักเก็บมิให้ฟุ้งกระจายไปยังที่อื่น เพื่อให้อากาศในบริเวณพื้นที่ใช้งานบริสุทธิ์ หรือควรมีการกำจัดปรอทอินทรีย์จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง

ประโยชน์ :        

  1. ใช้ผสมกับโลหะอื่นเป็นปรอทผสมสำหรับใช้งานในการอุดฟัน
  2. ใช้เป็นส่วนผสมของสี หรือ latex base สำหรับใช้ทาผนังบ้าน
  3. ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตทองคำ เพื่อเป็นตัวทำละลายทองคำออกจากสินแร่

  

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ