คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดี

 หน้าแรก
» การเตรียมตัวก่อนการรักษา » คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดี แบ่งปันไปยัง facebook
คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดี
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
   
1) ผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจพื้นฐานคือเจาะเลือด เอกซเรย์ปอด ถ้าอายุมากกว่าหรือเท่ากับ40ปี ต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย ถ้ามีผลเลือดผิดปกติต้องได้รับการแก้ไขก่อนผ่าตัด
     2) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเพราะมีความสำคัญมาก เช่นถ้าเป็นโรคความดันต้องควบคุมความดันให้ดีก่อน ถ้าเป็นเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีก่อนหรือเป็นโรคหัวใจอาจจะต้องตรวจอัลตร้าซาวน์หัวใจก่อนและต้องเตรียมหอผู้ป่วยวิกฤตไว้ดูแลหลังผ่าตัดเป็นต้น
     3) ผู้ป่วยที่กินยาประจำต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเพราะยาบางชนิดมีผลต่อการดมยาหรือการผ่าตัด เช่นยาละลายลิ่มเลือด ทางกลับกัน ยาบางชนิดต้องกินต่อเนื่องแม้ก่อนผ่าตัด เช่น ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น
     4) การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจโดย 1 วัน ก่อนผ่าตัดจะต้องทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ
     5) ในการผ่าตัดต้องดมยา ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยต้อง งดน้ำงดอาหารก่อน 6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ไม่ใช่เพื่อการทรมารให้อดอาหารแต่ป้องกันเศษอาหารในกระเพาะสำลักเข้าหลอดลมเวลาดมยา
     6) พฤติกรรมบางอย่างอาจมีผลต่อผู้ป่วยหลังผ่าตัด เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ควรจะงดเว้นก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนเพราะจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
    7) ถ้าผู้ป่วยป่วยมีประวัติแพ้ยาต้องแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ทราบทุกครั้ง
    8) ระหว่างวันใกล้ผ่าตัดหรือก่อนผ่าตัดถ้าไม่สบายด้วยเรื่องอะไรแม้เพียงเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด มีผื่นคัน ควรบอกกับแพทย์ด้วย

การเตรียมตัวหลังผ่าตัด
    
1) หลังผ่าตัดหากผู้ป่วยมีอาการปวดแผลแจ้งเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยเพื่อรับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา หากมีอาการผิดปกติเช่นปวดแผลมาก ท้องอืดแข็งตึง หรือมีไข้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วย
     2)การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน การรับประทานอาหารในช่วง 4-6 ชั่วโมง หลังผ่าตัดควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยและแคลอรี่สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ  แป้ง และจำพวกวิตามินซึ่งมีในจำพวก ผัก ผลไม้ต่างๆ หลังจากนั้นผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ตามปกติเพราะน้ำดีสามารถไหลผ่านไปยังลำไส้เล็กส่วนต้นได้ดีมากขึ้น เพื่อช่วยย่อยไขมัน แต่ต้องระวังไม่ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป
     3) การสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง เช่น ปวดท้อง มีไข้หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน แนะนำให้รีบกลับมาพบแพทย์
     4) การพักผ่อนการออกกำลังกายแนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอประมาณวันละ 6-8 ชั่วโมง และให้มีกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติและสามารถออกกำลังกายตามความเหมาะสมตามสภาพร่างกาย
    5) การทำงาน หลีกเลี่ยงการทำงานหนักในระยะหลังผ่าตัด 3 เดือน
    6) แนะนำมาตรวจตามนัด
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ