โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อการระคาย(Occupational Irritant Contact Dermatitis)

 Home
» Knowledge of Health » โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อการระคาย(Occupational Irritant Contact Dermatitis) แบ่งปันไปยัง facebook

โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อการระคาย(Occupational Irritant Contact Dermatitis)

โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อระคายเคืองอันเกิดจากการสัมผัสสารระคายเคืองหรือพิษของสาร เช่น ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด กรด ด่าง สารตัวทำละลาย เป็นโรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพที่พบบ่อยที่สุด อาการแสดงอาจแสบร้อนหรือคัน ซึ่งความรุนแรงและรูปแบบของผื่นที่เกิดขึ้นกับคุณสมบัติของสารมากกว่า

 

กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

พนักงานทำความสะอาด ช่างเครื่องยนต์  ช่างพิมพ์ ช่างเสริมสวย  เกษตรกร คนงานก่อสร้าง หรือผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสสารระคาย เป็นต้น

 

สารระคายเคืองที่พบบ่อยในการทำงาน

สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด แอลกอฮอล์ กรด-ด่าง น้ำยาย้อมผม น้ำยาดัดผม ใยแก้ว น้ำมันหล่อลื่น เอนไซม์ในผักและเนื้อสัตว์ก่อนปรุง เป็นต้น

 

อาการ มี 2 แบบ ดังนี้

  • อาการแบบเฉียบพลัน เกิดการสัมผัสสารก่อระคายที่มีความเข้มข้นสูงทำให้มีอาการปวดแบบแสบร้อน รู้สึกระคายเคืองหรือคัน ผิวหนังบริเวณสัมผัสจะมีลักษณะแดงบวม มีขอบเขตชัดเจน  ถ้าเป็นมากจะมีตุ่มน้ำพองและอาจมีแผลเหมือนไฟลวก
  • อาการแบบเรื้อรัง เกิดจากการสัมผัสสารก่อระคายเคืองประจำ ประมาณ 2- 8 สัปดาห์ จะมีอาการคัน ตึงผิวหนังบริเวณสัมผัสจะมีลักษณะบวมแดง มีขอบเขตชัดเจน  ถ้าเป็นมากจะมีตุ่มน้ำพองและอาจมีแผลเหมือนไฟลวก

 

การวินิจฉัย

- อาการและอาการแสดงเข้าได้กับโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส

- มีประวัติการทำงานสัมผัสสารระคายในระหว่างการทำงาน

- ผื่นเริ่มเกิดบริเวณที่สัมผัสสารระคาย

- ไม่พบสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการประกอบอาชีพ

- อาการดีขึ้นในวันหยุดและมีอาการมากขึ้นเมื่อทำงาน

- มีคนทำงานอย่างเดียวกันเป็นโรคผิวหนังแบบเดียวกัน

 

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังให้ผลลบ

 

การป้องกัน

  1. ควรเลือกใช้สารเคมีประเภทที่มีความปลอดภัยมากที่สุด
  2. การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนัง
  3. การใช้อุปกรณ์ป้องกันผิวหนัง เช่น ถุงมือ เป็นต้น
  4. การทำความสะอาดผิวหนังอย่างเหมาะสม
  5. การดูแลเอาใจใส่ผิวหนัง เช่น การทาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง เป็นต้น

 

การรักษา

  1. การปรับพฤติกรรม เช่น หลีกเสี่ยงการสัมผัสสิ่งที่แพ้ หรือถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ให้ใส่ถุงมือป้องกัน
  2. การรักษาด้วยยาทั้งชนิดทาและรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นยาประเภทแก้แพ้หรือยาปฏิชีวนะ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

 

 

 

ปรึกษาออนไลน์

 นัดหมายรับบริการ

สนใจแพคเกจ 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ