จับสัญญาณอาการมะเร็งเต้านม พร้อมวิธีป้องกันและรักษา

article-จับสัญญาณอาการมะเร็งเต้านม พร้อมวิธีป้องกันและรักษา

Wednesday 03 April 2024

by Dr.PATTRA SUKARAPAS

5.00

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) โรคที่เกิดจากเซลล์ของเต้านมที่เติบโตอย่างผิดปกติ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเซลล์ในท่อน้ำนม หรือเซลล์บางส่วนของต่อมน้ำนมที่แบ่งตัวผิดปกติ จนกลายเป็นมะเร็งที่เติบโตเดินไปตามท่อน้ำเหลืองในเต้านมได้ในที่สุด! 

ปัจจัยกระตุ้นมะเร็งเต้านมในผู้หญิง

มะเร็งเต้านมถือเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้ตั้งแต่วัยสาว โดยพบได้มากในผู้หญิงอายุ 40-60 ปี โดยสาเหตุของมะเร็งเต้านมเกิดได้จากปัจจัยหลักๆ ดังนี้ 5-10% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากบิดามารดา

  • 85-90% เกิดจากพันธุกรรมที่เปลี่ยนไปจากไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ทั้งสารปนเปื้อนในอาหารและภาชนะ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีในชีวิตประจำวัน รวมถึงมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นควัน PM2.5 หรือควันบุหรี่

เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์มะเร็งจะเริ่มกินเนื้อเยื่อเต้านมปกติข้างเคียง และกระจายไปบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ช่วยกรองสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เมื่อมะเร็งกระจายไปบริเวณต่อมน้ำเหลือง ฉะนั้น ระยะของมะเร็งจึงขึ้นกับการกระจายของโรคร่วมด้วย 

อาการสังเกตมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมสามารถแสดงอาการได้หลากหลาย หากคลำพบก้อนที่เต้านม หรือรู้สึกมีความเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เต้านม แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเร็วที่สุด
• เจ็บบริเวณเต้านม
• มีน้ำไหลออกมาจากหัวนม
• เจ็บที่หัวนม มีหัวนมบุ๋ม หรือผิวหนังที่หัวนมหนาขึ้น
• การบวมของเต้านมบางส่วนหรือทั้งหมด
• ผิวหนังที่เต้านมเปลี่ยนแปลงไปเป็นผิวเปลือกส้ม บวมแดง หรือมีแผลและรอยบุ๋มที่ผิวหนังเต้านม

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

วิธีคลำเต้านมด้วยตนเองถือเป็นการสำรวจร่างกายในเบื้องต้น โดยสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปี ขึ้นไป ซึ่งหากพบว่ามีอาการผิดปกติ (ตามตาราง) หรือพบก้อนผิดปกติในเต้านม แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในทันที นอกจากนี้ สำหรับผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำให้เข้ารับการตรวจเอกซเรย์และอัลตร้าซาวด์เต้านม (Mammogram and Ultrasound) เป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเต้านมตั้งแต่เนิ่นๆ (ระยะเริ่มต้น) 

5 วิธีรักษามะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบันสามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะและการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและรักษา ซึ่งวิธีรักษามะเร็งเต้านมมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้
1. การผ่าตัดมะเร็งเต้านม โดยทั่วไปการผ่าตัดมะเร็งเต้านมจะหมายถึงการผ่าตัดอวัยวะ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเต้านมและ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย 
2. เคมีบำบัด
3. ฉายรังสี
4. ยาต้านฮอร์โมน
5. ยามุ่งเป้า (ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งโดยตรง)

3 เทคนิคผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม

  1. การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด เป็นการผ่าตัดเนื้อเต้านมทั้งหมด ผิวหนังหัวนมและลานนมออกทั้งหมด เพื่อช่วยลดโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งน้อย
  2. การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นการผ่าตัดก้อนและเนื้อดีรอบก้อนบางส่วนออก โดยยังคงรูปทรงของเต้านมไว้ ข้อดี คือยังมีเนื้อนมที่มีลักษณะใกล้เคียงเดิม และแผลผ่าตัดเล็กกว่าการตัดทั้งเต้า ทำให้การฟื้นตัวเร็วกว่า โดยหลังการผ่าตัดผู้ป่วยทุกรายจำเป็นต้องได้รับการฉายแสงที่เต้านมที่เหลือ
  3. การผ่าตัดแบบเสริมเต้าในคราวเดียว เป็นการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดและสร้างเต้านมใหม่ โดยย้ายกล้ามเนื้อ และชั้นไขมันที่หลังหรือหน้าท้องมาแทนเต้านมเดิม หรือการเสริมด้วยซิลิโคน ข้อดี คือ โอกาสในการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งน้อยเนื่องจากตัดเต้านมออกทั้งหมด และได้เสริมเต้านมในคราวเดียวกัน แต่จะใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดนาน และอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลติดเชื้อที่บริเวณเต้านม หรือบริเวณที่ย้ายเนื้อเยื่อมา

แม้ปัจจุบันเราจะมีวิธีรักษาและเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสม แต่คงดีกว่าหากผู้หญิงทุกคนใส่ใจดูแลตัวเองด้วยการหมั่นตรวจเช็กความเสี่ยงด้วยตัวเอง เพราะแม้ “มะเร็ง” จะขึ้นชื่อว่าเป็นโรคอันตรายและภัยเงียบ แต่การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง ย่อมช่วยให้เรารู้ทันเซลล์ร้ายนี่ได้ไม่มากก็น้อย 

Location / Map : https://goo.gl/maps/BYoLiFXbrJaiz2gH7
Tel.02 033 2900 ต่อ 3349 ศูนย์ตรวจสุขภาพ
FanPage : fb.com/chularat3
Line : @chularat3

Share:
social-media-iconsocial-media-iconsocial-media-icon

Better health

Related services

Recent posts

logo

Chularat 3 International Hospital

88/8-9, Theparak Rd. Km.14.5, Tumbon Bangpla, Amper Bangplee, Samutprakarn, 10540

Important links 1

DoctorsClinics

Contact Us

call: 02-033-2900email: [email protected]Monday - Sunday: 08.00 - 20.30
https://www.facebook.com/https://line.me/https://www.youtube.com/

Copyright © Chularat Hospital Group All rights reserved.
This website uses cookies

We use cookies to enhance efficiency and provide a good experience on our website. You can manage your cookie preferences by clicking "Cookie Settings" in the privacy policy