เครื่องมือตรวจหาปัจจัยเสี่ยง รู้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจล่วงหน้า

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » เครื่องมือตรวจหาปัจจัยเสี่ยง รู้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจล่วงหน้า แบ่งปันไปยัง facebook

เครื่องมือตรวจหาปัจจัยเสี่ยง รู้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจล่วงหน้า

     ปัจจุบันโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และผู้ป่วยมีแนวโน้มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง แม้แต่นักกีฬาที่ถือว่าเป็นบุคคลที่แข็งแรงก็ยังเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ ว่ามีการเสียชีวิตระหว่างแข่งขัน หรือฝึกซ้อม จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นโรคที่มากับความเงียบ (Silent disease) เกิดขึ้นเมื่อไรมักมีอันตรายจนอาจถึงแก่ชีวิตโดยฉับพลันได้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากหลอดเลือดแดงโรนารีย์มีการเสื่อมสภาพ หรือบาดเจ็บ จนเกิดไขมันและแคลเซียม (Atheromatous plaques) มาเกาะที่ผนังในบริเวณนั้นๆ ทำให้หลอดเลือดการตีบเกิดขึ้น โรคนี้พบได้บ่อยใสผู้ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงผู้ที่มีความเคลียดและสูบบุหรีจัด เป็นต้น

เครื่องมือที่สามารถตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงข้างต้น คือ CTA Coronary Artery ซึ่งย่อมาจาก Coronary Computed Tomographic Angiography

CTA Coronary / Cardiac Artery (Coronary Computed Tomographic Angiography)

   การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นการตรวจเพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยสามารถบอกระดับความรุนแรง ของการตีบของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ หรือใช้ติดตามผลการรักษา ในรายที่เคยมีประวัติผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจมาก่อน รวมถึงการหาความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดหัวใจ โดยในปัจจุบันเป็นการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง การเตรียมผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ก่อนทำการผ่าตัดหรือทำหัตถการใหญ่ๆ

 

ข้อจำกัดในการตรวจ

   1. ผู้ป่วยต้องได้รับการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่เกิน 65 ครั้งต่อนาที ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของอายุรแพทย์โรคหัวใจ กรณีที่อัตราการเต้นของหัวใจเกิน 65 ครั้งต่อนาที อาจจำเป็นต้องได้รับยาก่อนทำการตรวจ
   2. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนตรวจ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ในกรณีเกิดการแพ้สารทึบรังสี และต้องมีผลค่าการทำงานของไตทุกครั้ง เนื่องจากสารทึบรังสีที่ใช้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ
   3. ผู้ป่วยต้องสามารถกลั้นหายใจขณะทำการสแกนประมาณ 10 วินาที
   4. กรณีค่า Calcium score เกิน 400 รังสีแพทย์และแพทย์โรคหัวใจจะพิจารณาว่า ควรทำการตรวจเพื่อหารอยโรคอื่นที่แพทย์สงสัยเพิ่มเติมหรือไม่

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ