การส่งเสริมพัฒนาการและการเล่นในเด็ก & โรคสมาธิสั้น

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » การส่งเสริมพัฒนาการและการเล่นในเด็ก & โรคสมาธิสั้น แบ่งปันไปยัง facebook

การส่งเสริมพัฒนาการและการเล่นในเด็ก & โรคสมาธิสั้น
การส่งเสริมพัฒนาการ( Developmental promotion )

   เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ เริ่มได้ตั้งแต่วัยทารก  ให้การส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่องทุกช่วงวัยโดยอาศัยความรู้และความเข้าใจในพัฒนาการปกติของเด็ก

การตรวจประเมินพัฒนาการ ( Developmental surveillance and screening )
   ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามคำแนะนำของ AAP (American Academy of Pediatrics) ควรตรวจประเมินพัฒนาการอย่างน้อย 3 ครั้ง ที่ช่วงอายุ 9, 18 และ 24 หรือ 30 เดือน ตามแบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก (Denver II developmental assessment)

   เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นนั้น ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่นของเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย จะเป็นสื่อกลางที่ส่งเสริมให้เกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆที่จะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการที่เต็มศักยภาพ และยังช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าและทักษะขั้นสูงเพื่อความสำเร็จ (EF)
   การเล่นก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา รู้จักการรอคอยและแบ่งปัน ช่วยส่งเสริมสมาธิและการกำกับตนเอง การควบคุมอารมณ์ การคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น

 

การเล่นในแต่ละช่วงวัย

ช่วงอายุ 1-2 ปี

 

ตัวอย่างกิจกรรม

จุดมุ่งหมาย

ให้จูงลากของหรือเข็นรถเข็นเล็กๆ

พัฒนาทักษะการทรงตัวและการเคลื่อนไหว รวมทั้งการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ

ร้องเพลงกล่อมหรือท่องบทกลอนให้เด็กฟังหรือเพลงที่ใช้ภาษาซ้ำๆ เช่น กาเอ๋ยกา จันทร์เจ้าขา เป็นต้น

พัฒนาความเข้าใจภาษา

บทบาทสมมติเบื้องต้นกับตุ๊กตาหุ่นกระบอก เล่นตุ๊กตาหุ่นแสร้งให้ตุ๊กตาพูดคุยกับเด็กและให้เด็กสนใจหรือส่งเสียงตอบสนอง

-พัฒนาทักษะทางสังคม

-ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้อื่น

สมุดรูปภาพ พยายามกระตุ้นให้เด็กออกเสียงตามเมื่อเอ่ยชื่อ หรือชี้ชวนให้ดู

ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น ฝึกจินตนาการ เพิ่มปฏิสัมพันธ์

หนังสือ Pop up

กระตุ้นสัมผัสกับสิ่งสัมผัสที่หลากหลาย

เล่นลูกบอล กลิ้งลูกบอลไปให้เด็กกลิ้งกลับมา

ให้เด็กฝึกการกะระยะของพื้นที่กับมิติ ฝึกการใช้มือและตาให้ทำงานร่วมกัน

ของเล่นไขลาน การเล่นในสนามเด็กเล่น พูดให้เด็กฟังในสิ่งที่พบเห็น อาจเปิดโอกาสให้เล่นดิน เล่นทราย

ฝึกการเคลื่อนไหวมือที่สลับข้างได้ดีขึ้น รับรู้เรื่องราว เกิดทักษะภาษา ฝึกความจำ

บล็อกไม้ ให้เด็กหัดวางซ้อนกัน โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

ร้องเพลงหัดเดินตามจังหวะ เพลงสอนให้รู้จักอวัยวะ เช่น ร่างกายของฉัน 4-6 ส่วน

เรียนรู้ในทิศทางและการเคลื่อนไหว สนุกสนานที่ได้เล่นกับผู้อื่น ฝึกการรอคอย

เล่นเกม ตบแผละ

สร้างจินตนาการ กล้ามเนื้อมือแข็งแรงขึ้น การใช้ตาทำงานร่วมกันดีขึ้น

  

ช่วงอายุ 2-3 ปี

 

ตัวอย่างกิจกรรม

จุดมุ่งหมาย

ภาพต่อตัวต่อเป็นรูปทรงง่ายๆ ต่อบล็อกไม้ 2-3 แท่งเป็นรูปรถไฟ / ช้อนบล็อก 8-7 แท่ง

-ฝึกการทำงานของตาและมือในการแก้ปัญหา

-ฝึกสังเกต

ฝึกขีดเขียนจากกระดาษและดินสอ เป็นรูป เส้นตรง วงกลม

 

หนังสือภาพ สอนเรื่องสี จับคู่ภาพเหมือน บอกชื่อภาพสัตว์ได้

-ฝึกการสังเกต

-ฝึกความเข้าใจเหตุผลที่ไม่ซับซ้อน

หัดร้องเพลงง่ายๆ เช่น เพลงช้าง

ฝึกทักษะทางภาษาและสังคม

เล่นสมมุติ เล่นป้อนตุ๊กตา

ฝึกการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

พูดคุยและตอบคำถามเด็กอย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่สนใจ

ฝึกทักษาทางภาษา

ถีบจักรยาน 3 ล้อ

ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น การทำงานอย่างประสานกันดีและช่วยให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว

เริ่มเล่นรวมกลุ่มกับเด็กอื่นๆ เช่น ไล่จับ ริรีข้าวสาร แม่งู จ้ำจี้-มะเขือเปราะ เป็นต้น

ฝึกให้คิดอย่างมีขั้นตอน ใช้มือกับสายตาประสานกันดี

เล่นในสนามเด็กเล่นที่ฝึกปืนป่าน ลื่นไถล โดยผู้ปกตรองดูแลอย่างใกล้ชิด

อุปกรณ์การเล่นจะช่วยให้เข้าใจเหตุและผลที่ตามมา ฝึกทักษะการใช้มือได้เก่งขึ้น สายตากับมือทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เพราะได้ใช้ข้อมือหมุนฝึกให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

เกมโดมิโนที่มีรูปทรงหลายแบบ

 

ช่วงอายุ 3-5 ปี

 

ตัวอย่างกิจกรรม

จุดมุ่งหมาย

ดูหนังสือและหัดเล่าเรื่องจากภาพ

ฝึกทักษะทางภาษา

วาดภาพและต่อภาพตัวต่อที่ซับซ้อนขึ้นตามจินตนาการของเด็ก

ฝึกรวมขบวนการคิดและจิตนาการ

ให้เล่นบทบาทสมมติร่วมกับคนอื่น เช่น เล่น ขายของหม้อข้าวหม้อแกง เล่นหมอกับคนไข้ เป็นต้น

ฝึกการเข้าสังคมและอยู่ร่วมกันผู้อื่นอย่างมีความสุข

เปิดโอกาสให้ได้ทำงานบ้านง่ายๆเลียนแบบผู้ใหญ่

 

เกมที่มีกฎเกณฑ์ กติกาและแบ่งหน้าที่ชัดเจน เช่น เล่นซ่อนหา เล่นขี่ม้าก้านกล้วย เดินกะลา กระต่ายขาเดียว เป็นต้น

พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และการทรงตัวให้มีการทำงานอย่างสมดุล

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง (Parental Guidry)

  • ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยว่า 3 ปี ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทุกชนิด ( แอพพลิเคชั่นต่างๆแนะนำไม่ควรดูในเด็กที่อายุ < 2 ปี)
  • ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ใช้อินเตอร์เน็ต
  • ไม่แนะนำให้เด็กอายุ < 13 ปี ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา และ 2 ชม. เว้นในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์
  • ผู้ปกครองควรร่วมกันกับเด็กในการกำหนดกติกาการใช้อินเตอร์เน็ตและติดตามควบคุมให้เป็นตามข้อตกลงอย่างเหมาะสมโดย ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก

 

โรคสมาธิสั้นคืออะไร?

      โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ที่เกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย

      - อาการขาดสมาธิ (attention deficit)

      - อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (impulsivity)

      - อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity)

เด็กสมาธิสั้นจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่รักษา ?

   เด็กเล็ก: ปัญหาพฤติกรรม ซนอยู่ไม่นิ่ง

   เด็กประถม: ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาการเรียน ปัญหาการเรียน ปัญหาการเข้ากับเพื่อน อาจจะเล่นกับเพื่อนแรงๆ ใจร้อน มองตัวเองไม่ดี

   เด็กมัธยม: ปัญหาการเรียน ปัญหาการเข้ากับเพื่อน ขาดความภูมิใจในตัวเอง ทำผิดกฎระเบียบ มีพฤติกรรมเสี่ยง

   อุดมศึกษา: บางคนไม่ได้เรียนต่อ/ เรียนไม่จบ สอบไม่ได้ในคณะที่ต้องการ สอบตกบ่อยๆ ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาอารมณ์ ใช้ยาเสพติด มีอุบัติเหตุ (เช่น ขับรถเร็ว ไม่ระวัง ใจร้อน)

   ผู้ใหญ่: มีปัญหาเมื่อไปทำงาน ขาดความภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาอารมณ์ ใช้ยาเสพติด มีอุบัติเหตุ (เช่น ขับรถเร็ว)

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ