โรคต้อหินและการรักษาด้วยเลเซอร์

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » โรคต้อหินและการรักษาด้วยเลเซอร์ แบ่งปันไปยัง facebook

โรคต้อหินและการรักษาด้วยเลเซอร์  

 ต้อหิน เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะตาบอดอันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากต้อกระจก

 

ต้อหิน” คืออะไร

  “ต้อหิน” เป็นกลุ่มโรคที่มีความเสื่อมของขั้วประสาทตาอย่างต่อเนื่อง โดยระยะเริ่มต้น จะส่งผลให้การมองเห็นในส่วนของลานสายตาเสียไป คือแคบลงเรื่อยๆ จนสุดท้ายการมองเห็นในส่วนของความคมชัดของสายตาลดลงจน มองไม่เห็นในที่สุด

 

กลุ่มเสี่ยงโรคต้อหิน

- อายุมากกว่า 40 ปี

- มีญาติสายตรงเป็นต้อหิน

- ความดันลูกตาสูง

- สายตาสั้น หรือยาวมากๆ

- เคยมีอุบัติเหตุที่ดวงตามาก่อน เช่น โดนชก ลูกบอลอัดตา ยางรัดตา หรือ อุบัติเหตุจราจรที่มีใบหน้าบริเวณเบ้าตาโดนกระแทก เป็นต้น

- ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์

- สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 

ชนิดของต้อหิน แบ่งตามสาเหตุมี 2 ชนิด คือ

  1. ต้อหินชนิดปฐมภูมิ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเอง นั่นคือการเสื่อมไปตามอายุ ทำให้การมองเห็นค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ หากเรามีอายุยืนยาวถึง 120 ปี ทุกคนจะเป็นโรคต้อหินกันหมด เพราะเป็นความเสื่อมตามวัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
  2. ต้อหินชนิดทุติยภูมิ คือ ต้อหินที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุบริเวณรอบดวงตา การใช้ยาสเตียรอยด์ เบาหวานขึ้นจอตา การอักเสบภายในลูกตา เป็นต้น

 

การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์ จะขึ้นกับชนิดของต้อหินและระยะของโรค

  1. เครื่องเลเซอร์ชนิด YAG Laser รักษาต้อหินโดยสามารถใช้ทำ Iridotomy (รูเปิดขนาดเล็กที่ม่านตา) เพื่อช่วยในการป้องกันและรักษาต้อหินแบบมุมปิด โดยใช้เลเซอร์ยิงเพื่อให้น้ำในลูกตาระบายได้ดีขึ้น (Yag laser peripheral iridotomy) และสำหรับหลังการผ่าตัดต้อกระจกคือเลเซอร์ขัดเยื่อหุ้มเลนส์ในผู้ป่วยถุงหุ้มเลนส์ขุ่นซึ่งทำเสร็จก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ (Yag laser capsulotomy)

      2 .เครื่องเลเซอร์ชนิด Argon laser เพื่อรักษาโรคต่างๆทางจอประสาทตาและต้อหินเช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา รอยฉีกขาดที่จอประสาทตา จอประสาทตาบวม 

 

ก่อนการรักษา

จักษุแพทย์จะประเมินว่าก่อนทุกครั้ง ว่าผู้ป่วยสามารถใช้วิธีการรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ได้หรือไม่

 

หลังการรักษา

แพทย์จะให้นอนพักเพื่อติดตามอาการเพียง 30 นาที หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้าน และสามารถล้างหน้าได้ตามปกติ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ