อัลตราซาวนด์ 4 มิติ (Ultrasound 4 D) คืออะไร?

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » อัลตราซาวนด์ 4 มิติ (Ultrasound 4 D) คืออะไร? แบ่งปันไปยัง facebook

อัลตราซาวนด์ 4 มิติ (Ultrasound 4 D) คืออะไร?

เป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000 Hz ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์ ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

สามารถเก็บภาพ 3 มิติแต่ละภาพไว้ แล้วนำมาแสดงผลเรียงต่อกันกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวเสมือนจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นแบบ“Real time” ซึ่งช่วยให้เราสามารถศึกษาพฤติกรรมต่างๆของทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจน 

ข้อดีของการตรวจอัลตราซาวนด์ 4 มิติ 

• ระยะเวลาในการตรวจครรภ์สั้นลง เนื่องจากสามารถมองเห็นร่างกายของทารกและอวัยวะต่างๆ

• อวัยวะภายนอกของทารกในครรภ์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ 2 มิติ เช่น ใบหน้า แขน ขา นิ้วมือ 

• สามารถมองเห็นพฤติกรรมต่างๆของทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจน เช่น หาว ดูดนิ้ว ยิ้ม กลืนน้ำคร่ำ กระพริบตาหรือขยับนิ้วมือ 

• ความผูกพันในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ลูกเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ 

อัลตราซาวนด์ 4 มิติ ตรวจอะไรได้บ้าง?

แพทย์จะทำการประเมินว่าทารกมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการในครรภ์เหมาะสมหรือไม่  ซึ่งรวมถึง 
• ตำแหน่งทารก สายสะดือและปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่รอบทารก 

• โครงสร้างกะโหลกศีรษะและสมองทารก 

• หัวใจและการไหลเวียนเลือดของทารก 

• กระดูกสันหลัง กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะและไต 

• แขน ขา มือ เท้าและนิ้ว 

• ใบหน้าและอวัยวะต่างๆบนใบหน้าของทารก 

• เพศของทารก

• อัตราการเจริญเติบโตของทารก ขนาดรอบศีรษะ ความยาวและน้ำหนัก

• ภาพถ่าย 3 มิติของทารกในครรภ์

 

อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจอัลตราซาวนด์ 4 มิติ

สามารถทำการตรวจด้วยอัตราซาวนด์ 4 มิติได้ทุกช่วงของอายุครรภ์ แต่ภาพที่ได้จะแตกต่างกันตามช่วงอายุครรภ์ ถ้าอายุครรภ์น้อยๆจะสามารถมองเห็นภาพของทารกทั่วร่างกาย ในขณะที่ช่วงอายุครรภ์มากขึ้นจะมองเห็นรายละเอียดต่างๆได้มากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาอวัยวะต่างๆของร่างกายไปมาก หากอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์อาจจะเห็นใบหน้าไม่ชัดเจน เนื่องจากทารกกลับศีรษะลงและเริ่มเข้าสู่ช่องเชิงกรานแล้ว จึงควรตรวจตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆไม่เกิน 20 สัปดาห์จะดีที่สุด 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ