การตรวจสมรรถภาพปอด ( Pulmonary Function Test )

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » การตรวจสมรรถภาพปอด ( Pulmonary Function Test ) แบ่งปันไปยัง facebook

การตรวจสมรรถภาพปอด ( Pulmonary Function Test )

       เป็นการตรวจที่สำคัญและมีประโยขน์อย่างยิ่งในกระบวนการคัดกรองโรคปอดจากการทำงานตั้งแต่ในระยะเนิ่นๆ ก่อนที่จะมีอาการ  ปอดเป็นอวัยวะที่มีการอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ค่อนข้างดี  อาการเหนื่อยง่าย  ไอเรื้อรัง หรือหอบเหนื่อยจึงมักปรากฏหลังจากพยาธิสภาพในปอดเกิดขึ้นมากแล้ว  การตรวจสมรรถภาพปอดนั้นจะให้ผู้รับการตรวจสูดลมหายใจเข้าเต็มที่อมหลอดที่เครื่องเป่าปอดแล้วเป่าออกมาให้เร็วและแรงอย่างเต็มที่จนสุดลมหายใจ ( ซึ่งควรจะให้ได้ในระยะนานไม่น้อยกว่า  6 วินาที โดยไม่หยุดหรือไอขณะเป่า )  การตรวจสมรรถภาพปอดจึงถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นที่ได้มาตรฐานในงานอาชีวอนามัย

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นประจำทุกปีเพื่อเฝ้าระวังโรคจากการทำงานดังนี้

    - อาชีพที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสไอระเหย   ฝุ่น ควัน 

    -  พนักงานที่สัมผัสสารเคมีชนิดต่างๆในการทำงาน

    -  พนักงานที่ทำงานต่างๆที่ต้องอาศัยระบบการทำงานของระบบหายใจที่มีประสิทธิภาพ    กลุ่มที่ต้องเข้าทำงานในพื้นที่อับอากาศ    การทำงานบนที่สูง  

    -  พนักงานที่สูบบุหรี่เป็นประจำ   หรือมีโรคประจำตัว

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสมรรถภาพปอด

    -  ผู้รับการตรวจควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมไม่คับ เพื่อให้ออกแรงหายใจได้เต็มที่ 

    -  ไม่ควรรับประทานอาหารหนักก่อนเข้ารับการตรวจ

     - ผู้ใช้ยาขยายหลอดลมควรหยุดยารวมทั้งหยุดสูบบุหรี่ก่อนเข้ารับการตรวจ   24  ชั่วโมง

ข้อห้ามและควรระวังในการตรวจสมรรถภาพปอด

     -  ไอเป็นเลือด   มีภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ยังไม่ได้รับการรักษา

     -   เพิ่งได้รับการผ่าตัดตา ช่องอกหรือช่องท้อง และความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ได้รักษาหรือควบคุมไม่ได้

     -   มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไม่เกิน 1  เดือนที่ผ่านมา  , มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดปอด

     -  สตรีมีครรภ์หรือสงสัยตั้งครรภ์    รวมถึง คนที่เป็นวัณโรคปอดระยะติดต่อ 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ