ฝีดาษ VS ฝีดาษลิง มีความแตกต่างกันอย่างไร

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » ฝีดาษ VS ฝีดาษลิง มีความแตกต่างกันอย่างไร แบ่งปันไปยัง facebook

โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) นั้น เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) แม้จะเกิดมาจากไวรัสในกลุ่มเดียว แต่จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ... วันนี้เรามีคำตอบมาบอกค่ะ

 ฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ(คน) เป็นเชื้อไวรัสที่ติดจากคนสู่คน โดยติดจากฝอยละอองขนาดเล็กที่ผ่านระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 7-11 วัน เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อแล้ว จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ-หลังรุนแรง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บคอ และมีผื่นแดงขึ้นทั้งใบหน้าและลำตัว

**แต่ WHO ได้ประกาศว่าโรคนี้ได้หมดไปจากโลกแล้ว ตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา


โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง เชื้อไวรัสที่ติดจากละอองฝอยขนาดใหญ่ โดยทั้งผ่านระบบทางเดินหายใจ และการสัมผัสเชื้อ ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ โดยจะมีระยะฟักตัวที่ 7-14 วัน ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั้งจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คนด้วยกัน ทั้งนี้เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแล้วผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ-หลังรุนแรง ปวดกระบอกตา ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นแดงขึ้นที่หน้า แขนขา รวมถึงมีตุ่มหนองขึ้น หลังจากมีไข้วันที่ 3

** ในขณะที่ได้มีการพบผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 72 ประเทศทั่วโลก
แม้ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถที่จะควบคุมการระบาดได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% และบุคคลที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิง

 วิธีป้องกันและดูแลตนเอง 
1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือ แอลกอฮอล์เจล
2. งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติ มาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ
5. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์ป่า จากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ