โรคกระเพาะอาหารอักเสบ....ปล่อยไว้ไม่รักษาอาจรุนแรง

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » โรคกระเพาะอาหารอักเสบ....ปล่อยไว้ไม่รักษาอาจรุนแรง แบ่งปันไปยัง facebook

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ....ปล่อยไว้ไม่รักษาอาจรุนแรง

  • เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดท้องจุกแสบ

หรือแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือช่องท้องสวนบนเหนือสะดือ

  • เกิดได้จากหลายสาเหตุ หากได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้มีอาการเรื้อรัง

ได้

  • หากมีอาการเรื้อรัง อาจมีสาเหตุร้ายแรงแอบแฝงอยู่ อาทิเช่น แผลในกระเพาะ

อาหาร หรือ มะเร็งกระเพาะอาหาร

  • อาการเตือนที่บ่งบอกว่าควรรีบปรึกษาแพทย์ ได้แก่

-อาการปวดท้องในคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

-อาการที่บ่งบอกว่ามีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร (อาเจียนมีเลือดปน.

-ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน หรือถ่ายอุจจาระมีสีดำ)

-น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

-อาเจียนบ่อยๆ

-ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรดเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์

-มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารในครอบครัว

  • การส่องกล้องกระเพาะอาหาร สามารถตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุ เพื่อการรักษา

ที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาทำไม่นาน ผลข้างเคียงน้อย

 

อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

  • ปวดท้องแบบจุกแสบ หรือ จุกแน่นอึดท้อง ที่บริเวณลิ้นปี อาการมักสัมพันธ์กับมื้อ

อาหาร อาจมีอาการก่อนหรือหลังรับประทานอาหารก็ได้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ทานอาหารได้ปริมาณน้อยกว่าเดิม น้ำหนักลด
  • อาเจียนเป็นเลือด (ในรายที่อาการรุนแรง)

 

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

  • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • ชอบทานอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
  • ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
  • การทานยาบางประเภท เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดบางชนิด
  • การติดเชื้อแบคที่เรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ( Helicobacter pylori )
  • ความเครียด วิตกกังวล

 

การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง เช่น อาหารที่มีรส

เผ็ด หรือเปรี้ยวจัด แอลกอฮอล์ ซา กาแฟ น้ำอัดลม

  • รับประทานอาหารสุกสะอาด อาหารอ่อน ย่อยง่าย รับประทานปริมาณน้อยๆพอ

อิ่ม แต่ทานบ่อยมื้อ ไม่ควรทานจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ

  • รับประทานอาหารตรงเวลา
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร

 

  1. การใช้ยารักษา
  • ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการให้ ยายับยั้งการหลั่งกรด และรักษาตามสาเหตุที่

ก่อให้เกิดอาการในผู้ป่วยแต่ละราย

  • แนะนำพบแพทย์ตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่

ถูกต้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ