มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้...รู้เร็ว มีโอกาสหาย

 หน้าแรก
» ความรู้สุขภาพและบทความแพทย์ » มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้...รู้เร็ว มีโอกาสหาย แบ่งปันไปยัง facebook

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันได้...รู้เร็ว มีโอกาสหาย

(บทความโดย พญ.วรวรรณ บุญรักษา อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร)

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากการสร้างเซลล์ผนังลำไส้ที่ผิดปกติ เกิดเป็นติ่งเนื้อ และดำเนินต่อไปเป็นเนื้องอกมะเร็ง

โดยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยเป็นลำดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและหญิง ของทั้งในไทยและทั่วโลก

 

ปัจจัยเสี่ยง

- ปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

- การเจ็บป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคติ่งเนื้อลำไส้บางชนิด

-  ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่มีอาการอย่างไร

ในระยะตัน อาจไม่แสดงอาการอะไร บางรายอาจตรวจสุขภาพแล้วพบภาวะซีด เล็กน้อย หรือตรวจพบสารเม็ด

เลือดออกในอุจจาระ เมื่อเนื้องอกมะเร็งใหญ่ขึ้น จะเริ่มมีอาการเช่น การชับถ่ายที่ผิดปกติ ถ่ายลำบาก ถ่ายไม่

เป็นลำ ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเป็นเลือด ปวดเบ่ง ปวดท้อง น้ำหนักลดผิดปกติ

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทำอย่างไร

- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจที่เห็นผนังลำไส้ ตรวจได้ตั้งแต่ระยะติ่งเนื้อ ซึ่งเป็นระยะก่อนเกิด

มะเร็ง ไปจนถึงสามารถเห็นเนื้องอกได้โดยตรง และสามารถตัดติ่งเนื้อออก หรือตัดชิ้นเนื้องอกไปส่ง

ตรวจได้ในขั้นตอนเดียวกัน กรณีไม่มีอาการใดๆ เริ่มตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป แต่หากมีโรค

ลำไส้อักเสบเรื้อรัง มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ของบุคคลในครอบครัว ควรตรวจเร็วขึ้น

- การตรวจหาสารเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระ แนะนำตรวจทุกๆ 1 ปี เริ่มตั้งแต่อายุ 50 ปี ไปเรื่อยๆ หาก

ตรวจพบผลผิดปกติ ควรส่องกกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อค้นหาโรค

 

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ในขั้นตอนวางแผนรักษา จะเริ่มประเมินระยะ วางแผนการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด โดยการดูแลจากทั้ง

ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์โรคมะเร็ง อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหาร โดยในการรักษา ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยา

เคมีบำบัด การให้ยาร่วมกับการฉายแสง และการให้ยามะเร็งมุ่งเป้า (Targeted Therapy) ซึ่งหากพบโรคใน

ระยะต้นๆ ก็มีโอกาสหายขาด

 

บุคคลใดควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ที่มีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน ได้แก่ การขับถ่ายที่ผิดปกติไปจากเดิม ถ่ายท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่าย

เป็นเลือด มูกเลือด น้ำหนักลดผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจ

- บุคคลทั่วไปที่ยังไม่มีอาการแสดงใดๆ ที่มีอายุเกิน 45 ปี หรือมีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ