มะเร็งต่อมไทรอยด์มีหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นชนิด Papillary และ Follicular ซึ่งสามารถรักษาได้ และผลการรักษาอยู่ในระดับดีมาก มีรายงานการรอดชีวิตที่ 20 ปี สูงถึงประมาณ 80% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ
การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิด Papillary และ Follicular จะประกอบด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ตามด้วยการรับประทานสารรังสีไอโอดีน และยาฮอร์โมนไทรอยด์ตามลำดับ ซึ่งยาฮอร์โมนไทรอยด์นั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอตลอดชีวิต
ไม่ลำบาก สารรังสีไอโอดีน หรือที่รู้จักกันในนาม "น้ำแร่รังสี" มีอยู่ 2 รูปแบบ คือรูปแบบที่เป็นของเหลวมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส) และรูปแบบที่เป็นแคปซูล
กรณีผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่รักษาด้วยการรับประทานสารรังสีไอโอดีนปริมาณสูงจำเป็นต้องเข้าพักในโรงพยาบาลเพื่อแยกตัวไม่ให้ผู้อื่นได้รับรังสีจากตัวท่านโดยห้ามออกนอกห้องโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งระยะเวลาเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ประมาณ 3-7 วัน หรือจนกว่ารังสีจะถูกขับออกจากร่างกาย จนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อคนรอบข้าง และไม่อนุญาตให้ญาติเฝ้า แต่สามารถเข้าเยี่ยมได้ครั้งละไม่เกิน 15 นาที หรือตามเวลาที่กำหนดหน้าห้องพัก
การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทั่วๆไปแล้ว จะพบว่า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นน้อยกว่าการให้เคมีบำบัดมาก เพราะเป็นการรักษาที่เฉพาะเจาะจงกับเซลล์ของต่อมไทรอยด์ โดยสารรังสีไอโอดีนที่รับประทานจะเข้าไปจับต่อมไทรอยด์และเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ดี มีสารบางส่วนเข้าไปจับในกระเพาะอาหารและต่อมน้ำลาย จึงอาจพบผลข้างเคียงได้บ้าง เช่น
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ ไม่จำเป็นต้องงดเว้นอาหารใดเป็นพิเศษ ยกเว้นช่วง 2 สัปดาห์ก่อนรับประทานสารรังสีไอโอดีน และ 1 สัปดาห์หลังการรักษาซึ่งแพทย์และพยาบาลจะแจ้งให้งดรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนสูง เพื่อให้ต่อมไทรอยด์และเซลล์มะเร็งไทรอยด์สามารถจับสารรังสีไอโอดีนได้ดีขึ้น ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งหากพ้นช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ข้อมูลโดย: สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย