คลินิกพัฒนาการเด็ก

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » คลินิกพัฒนาการเด็ก  แบ่งปันไปยัง facebook

พญ.ปิยนุช ธนชยานนท์

กุมารเวชศาสตร์
อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
  • ประเมิน ให้คำแนะนำและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยเน้นให้ผู้ปกครองมีส่วน ร่วมกับนักจิตวิทยาสาขาพัฒนาการเด็ก
  • ให้คำแนะนำเพื่อกระตุ้นพัฒนาการในเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ฟื้นฟูและพัฒนา ทักษะที่สำคัญในเด็กปฐมวัย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไปได้
  • ให้คำปรึกษาในการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม โดยเน้น การสร้างวินัยเชิงบวก และการสื่อสารกับเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ฝึกกระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มดาวน์ซินโดรม สมอง พิการ ซึ่งมีพัฒนาการล่าช้า
  • กิจกรรมส่งเสริมการประมวลผลการรับความรู้สึก Sensory Integration (SI)
  • กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor)
  • กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก เตรียมความพร้อมสำหรับการ เรียน ( Find motor & Hand writing )
คลินิกพัฒนาการเด็ก

Q : การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก คืออะไร?

 A : คือการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองโดย มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา การใช้ภาษาและสังคม

Q : การตรวจประเมินพัฒนาการในเด็ก ควรทำกี่ครั้ง?

 A : ควรทำ 3 ครั้ง ตามช่วงอายุ 9, 18 และ 24 หรือ 30 เดือน ตามแบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก

Q : โรคสมาธิสั้นคืออะไร?

 A : คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ที่เกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย
- อาการขาดสมาธิ (attention deficit)
- อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (impulsivity)
- อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity)

Q : เด็กสมาธิสั้นจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่รักษา ?

 A : - เด็กเล็ก: ปัญหาพฤติกรรม ซนอยู่ไม่นิ่ง
- เด็กประถม: ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาการเรียน ปัญหาการเรียน ปัญหาการเข้ากับเพื่อน อาจจะเล่นกับเพื่อนแรงๆ ใจร้อน มองตัวเองไม่ดี
- เด็กมัธยม: ปัญหาการเรียน ปัญหาการเข้ากับเพื่อน ขาดความภูมิใจในตัวเอง ทำผิดกฎระเบียบ มีพฤติกรรมเสี่ยง
- อุดมศึกษา: บางคนไม่ได้เรียนต่อ/ เรียนไม่จบ สอบไม่ได้ในคณะที่ต้องการ สอบตกบ่อยๆ ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาอารมณ์ ใช้ยาเสพติด มีอุบัติเหตุ (เช่น ขับรถเร็ว ไม่ระวัง ใจร้อน)
- ผู้ใหญ่: มีปัญหาเมื่อไปทำงาน ขาดความภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาอารมณ์ ใช้ยาเสพติด มีอุบัติเหตุ (เช่น ขับรถเร็ว)

Q : เทคนิคในการสร้างความฉลาด และการฝึกทักษะการคิดเชิงบวกให้กับลูกน้อย มีอะไรบ้าง?

 A : - พ่อแม่ต้องมีอยู่จริงและสม่ำเสมอ โดยพยายามสร้างเวลาคุณภาพอยู่กับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ
- เลี้ยงลูกด้วยนิทาน ทุกครั้งที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง นั่นคือ การกระตุ้นการทำงานของสมองสร้างเส้นใยของเซลล์ประสาท
- ชวนลูกคุย หมั่นตั้งคำถาม ปลายเปิดกับลูกน้อย และไม่จำเป็นต้องให้ภาษาเด็กในการคุยกับลูก เพื่อเป็นการสร้างคลังคำศัพท์ที่ถูกต้อง
- การออกกำลังกาย และการเล่นใช้ทักษะกล้ามเนื้อ เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองที่สำคัญในเด็กปฐมวัย
- ให้ลูกได้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้เห็น ได้ฟัง ได้ชิมรส การเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัด ปล่อยให้ลองทำ ลองผิดลองถูก ฝึกการตัดสินใจ คิดวิเคราะห์และปรับตัวกับปัญหา
- โภชนาการ “อาหารสมอง” สารอาหารที่สำคัญและจำเป็นกับสมองโดยเฉพาะ Folate, Iron, Iodine, Zinc, Omega
- กำหนดกติกาชัดเจน อย่างใจเย็น “อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ในชีวิต” เราต้องตั้งกติกาเพื่อให้ลูกมีวินัย และฝึกการกำกับตนเองจากภายใน
- งดการดูสื่อจอก่อนอายุ 3 ขวบ เนื่องจากจะมีผลยับยั้งการพัฒนาสมองส่วนหน้า ส่งผลทำให้มีปัญหาด้านสมาธิและมีปัญหาพฤติกรรมตามมาได้

Q : ผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อลูกขาดทักษะการคิดเชิงบวก มีอะไรบ้าง?

 A : - ความจำไม่ดี เรียนรู้ยาก ทำผิดเรื่องเดิมๆซ้ำซาๆ
- หุนหันผลันแล่น ยับยั้งชั่วใจไม่ได้ ทำโดยไม่อดทนรอไม่ได้ และไม่นึกถึงคนอื่น
- รู้สึกเสียใจ หรือผิดหวังง่าย และมักจะหงุดหวิดอารมณ์ เกรียวกราด แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ และใช้เวลานานกว่าจะกลับสู่อารมณ์ปกติ
- มีปัญหากับการทำกิจวัตรประจำวันหน่อยๆ เช่น ทำอะไรก็มักจะช้า ใช้เวลานอน ลืมว่าต้องทำอะไรบ้าง ลืมของสำคัญที่ใช้บ่อยๆ
- ขาดการวางแผน และการประเมินตนเอง คิดแก้ปัญหาหรือจัดการต่ออุปสรรคในการทำงานได้
- ไม่สามารถควบคุมให้มีสมาธิในห้องเรียนได้ ทำงานเสร็จช้าเพราะ มัวเองเวลาไปสนใจอย่างอื่น หรือวอกแวกกับสื่องเร้าอื่นๆ
- มีปัญหาในการปรับตัวหรือใช้เวลาในการปรับตัว ต่อสถานการณ์ใหม่ๆ นานกว่า เด็กวัยเดียวกัน
- ไม่สามารถคิดนอกกรอบหรือเปลี่ยนวิธีคิด เมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง ยังยึดติดกับวิธีเดิมๆ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- มักจะมีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จัดการกับอารมณ์ของตนเองไม่ได้
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ