ศูนย์สูติ - นรีเวช

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » ศูนย์สูติ - นรีเวช  แบ่งปันไปยัง facebook

นพ.ชัยสิทธิ์ จริยะพร

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

พญ.ปนัดดา บรรยงวิจัย

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

พญ.ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

นพ.ทศพล ตระกูลมุ่งกิจการ

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

นพ.ภานุพงศ์ พันธ์เมธาฤทธิ์

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

พญ.สุชาดา สาระกูล

สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

ให้บริการดังนี้

  • ตรวจร่างกายและปรึกษาก่อนแต่งงานหรือวางแผนการมีบุตร (Pre-marital and pre-conceptional counseling)
  • การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษามารดาและทารกในครรภ์ (Antenatal care and prenatal diagnosis)
  • ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ โดยการใช้อัลตราซาวด์ การเจาะน้ำคร่ำ
  • ให้คำปรึกษาภาวะเสี่ยงจากโรคธาลัสซีเมีย
  • การดูแลตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โรคหัวใจขณะตั้งครรภ์ ฯลฯ
  • การดูแลมารดาที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการป่วยระหว่างตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด
  • บริการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆ เช่น ฝังยาคุมกำเนิด ทำหมัน ใส่ห่วงคุมกำเนิด รับประทานยา
  • ให้บริการตรวจรักษาโรคทางนรีเวช เช่น การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ทันสมัย
  • การรักษาโรคทางนรีเวช ทั้งรับประทานยา และ การผ่าตัดทั่วไป หรือ การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง

ให้คำปรึกษาและดูแลการรักษา ดังนี้

  1. ภาวะตกขาวผิดปกติ
  2. หูดหงอนไก่และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  3. ปวดท้องน้อยเฉียบพลันและเรื้อรัง
  4. ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  5. ภาวะผิดปกติของรอบประจำเดือน เนื้องอกมดลูก ซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่
  6. ให้คำปรึกษาอายุต่ำกว่า 10 ปี มีประจำเดือนก่อนวัย คลินิกวัยทอง
  7. ให้คำปรึกษาคำแนะนำตรวจแก่สตรีวัยทองช่วงใกล้หมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน

Q : การตรวจมะเร็งปากมดลูก Thin Prep เป็นอย่างไร

 A : การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65%

Q : วิธีการเลือกตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างไร

 A : ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายเลือกแบบตรวจแบบ

Q : สามารถตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่

 A : ควรเริ่มการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีภายหลังเริ่มมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 3 ปี หรือเมื่อมีอายุครบ 30 ปีขึ้นไป

Q : ต้องเตรียมตัวตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างไร

 A : การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ
• ไม่ควรตรวจในช่วงมีประจำเดือน หรือควรมาตรวจก่อนหรือหลังมีประจำเดือนอย่างน้อย 7 วัน
• ก่อนตรวจควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยาเหน็บ หรือสวนล้างช่องคลอดอย่างน้อย 48 ชม.

Q : อาการแบบไหนมะเร็งปากมดลูก ที่ต้องมาตรวจ

 A : 1. มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น ขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ หลังตรวจภายใน
2.ยังคงมีเลือดออกจากช่องคลอด หลังหมดประจำเดือนแล้ว หรือประจำเดือนมา
3.กะปริดกะปรอยผิดปกติ
4.มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน
5.มีอาการเจ็บ ขณะมีเพศสัมพันธ์
6.มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติ หรืออาจปนเลือด
7.ปัสสาวะบ่อย หรืออาจปวดบวม ปัสสาวะไม่ออก
8.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
9.เบื่ออาหาร ซูบผอม น้ำหนักลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
10.ปวดท้องน้อย

Q : ใช้เวลาการตรวจนานเท่าไหร่ และสามารถทราบผลการตรวจ ภายในกี่วัน

 A : ใช้เวลาในการตลอด 15-20 นาที และสามารถทราบผลตรวจประมาณ 2 สัปดาห์ หลังการตรวจพยาบาลจะแจ้งผลหรือส่งผลทาง โทรศัพท์ หรือทาง Line ในกรณีต้องการรับผลตรวจสามารถมาติดต่อรับผลตรวจได้ที่ แผนกสูติ-นรีเวช

Q : ควรตอบมะเร็งปากมดลูก ทุกปีไหม

 A : ควรทำทุก 1 ปี ในหญิงทุกคนที่อายุ 35-55 ปี และแนะนำในหญิงทุกคนที่เคย มีประวัติเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ถ้าปกติติดต่อกัน 3 ปี ต่อไปทำทุก 3 ปี

Q : ผู้ที่ได้รับการตัดมดลูกแล้วจำเป็นต้องตรวจมะเร็งปากมดลูกไหม

 A : ผู้ที่ได้รับการตัดมดลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก

Q : เจ็บไหม ?? ตรวจมะเร็งปากมดลูก

 A : คุณหมอจะใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อถ่างออกเเล็กน้อย แล้วสอด ก้านสำลีเข้าไปเพื่อปาดเอาตัวอย่างตรงปากมดลูกไปตรวจ อาจมีอาการเจ็บ เล็กน้อย

Q : การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช คืออะไร?

 A : การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช คือการผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานผู้หญิง ซึ่งได้แก่ มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูกและอวัยวะใกล้เคียง โดยใช้กล้องและเครื่องมือที่มีขนาดเล็กๆ โดยการสอดเครื่องมือและกล้องผ่านรูแผลเล็กๆ ขนาด 5-10 มม. บริเวณผนังหน้าท้อง 2-4 จุด แพทย์จะดูภาพอวัยวะต้องต้องการผ่าตัดผ่านจอภาพ

Q : การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชมีข้อดีอย่างไร?

 A : แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว ภาวะแทรกซ้อนน้อย เช่น การเสียเลือด หรืออาการปวดจะน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

Q : โรคทางนรีเวชที่สามารถผ่าตัดผ่านกล้องมีโรคใดบ้าง?

 A : โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ เนื้องงอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์ต่างๆ ท้องนอกมดลูก พังผืดในช่องท้อง หรือผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชสามารถนำมาแทนที่การผ่าตัดเปิดหน้าท้องได้เกือบทุกโรคทางนรีเวช ไม่เว้นแม้แต่โรคมะเร็งของสตรี เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ฯลฯ

Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเหล่านี้หรือไม่

 A : ในรายที่ไม่มีอาการ การตรวจร่างกายประจำปีจะเป็นตัวช่วยที่ดี เช่น การตรวจภายในและการทำอัลตราซาวด์ ส่วนในผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งมีอาการ เช่น ในรายที่เป็นเนื้องอกมดลูก อาจจะมีอาการประจำเดือนออกมากผิดปกติ บางรายอาจจะมีการปวดหน่วงที่ท้องน้อยร้าวไปก้นกบ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติหรืออุจจาระลำบาก เป็นต้น

Q : เตรียมตัวอย่างไรก่อนการผ่าตัดผ่านกล้อง?

 A : เหมือนกับการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดทั่วไป คือ งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด อาจต้องสวนอุจจาระเพื่อเตรียมลำไส้ไม่ให้มีสิ่งตกค้างก่อนการผ่าตัด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่องใสลดความเครียด เป็นต้น

Q : การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด?

 A : -ควรลุกขึ้นจากเตียงและเคลื่อนไหวร่างกายตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัด
-ควรระวังไม่ให้แผลโดนน้ำหรืองดแช่ตัวในอ่าง จนกว่าจะครบวันที่แพทย์นัดไปตรวจแผล
-หากมีอาการปวดแผล สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
-ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10-14 วันหลังผ่าตัด
-ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักและการออกกำลังกายอย่างหนักประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด

Q : อาการผิดปกติที่ต้องรีบไปพบแพทย์มีอะไรบ้าง?

 A : - มีเลือดออกจากช่องคลอดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีน้ำไหลออกจากช่องคลอดไม่หยุดนานกว่า 2 สัปดาห์
- เลือดที่ออกเคยหยุด แล้วกลับมามีเลือดออกใหม่อีกครั้ง
- เลือดหรือน้ำที่ไหลออกจากช่องคลอด มีกลิ่นเหม็น หรือคล้ายหนอง
- มีอาการปวดท้องมากขึ้น มีไข้ ปัสสาวะแสบขัด และ/หรือ ปัสสาวะไม่ออก
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ