ศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » ศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร  แบ่งปันไปยัง facebook

พญ.วรวรรณ บุญรักษา

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

นพ.จีระเดช ไชยรา

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

พญ.กนกนันท์ หล่อกิตติวณิชย์

อายุรศาสตร์
อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

อาการที่พบได้เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหาร

  • ปวดจุกแน่นท้องด้านบน
  • แสบร้อนอก จุกลำคอ สำรอก
  • อาเจียนบ่อย
  • กลืนลำบาก
  • ขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย
  • มวนท้อง ไม่สบายท้องเรื้อรัง
  • ถ่ายมีมูกเลือด
  • ถ่ายสีดำ
  • ถ่ายเป็นเลือด
  • อาเจียนสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด
  • ตาเหลือง ดีซ่าน
  • ท้องโตหรือท้องมาน
  • น้ำหนักลดผิดปกติ

ผลตรวจสุขภาพที่ผิดปกติ อาจไม่มีอาการใดๆ

  • ค่าเอ็นไซม์ตับผิดปกติ
  • ค่ามะเร็งขึ้นสูง
  • ผลอุจจาระมีสารเม็ดเลือดแฝง
  • ไวรัสตับอักเสบ
  • อัลตราซาวด์ตับผิดปกติ
  • โลหิตจาง

การเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหาร

          เกิดขึ้นได้บ่อยพบได้ทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่วัยเรียน วัยทำงานและผู้สูงอายุโดยมีอาการแสดงที่หลากหลายบางโรคถูกตรวจพบโดยบังเอิญ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆและบางโรคเริ่มต้นจากไม่มีสัญญาณใดๆจนเริ่มมีอาการผิดปกติ เมื่อได้รับการตรวจค้นหาสาเหตุอาจเข้าสู่ระยะที่รักษาได้ยาก การเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดตั้งแต่ก่อนเกิดโรค การได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆเพื่อหวังอัตราการหายและการมีชีวิตที่ยืนยาว เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้นและเป็นเป้าหมายของการตรวจรักษา

          ในปัจจุบันเราจึงมุ่งมั่น พัฒนา เตรียมพร้อมสำหรับการให้คำแนะนำและตรวจรักษาที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากลโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างตรงจุดและการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษา ดังนี้

  • ตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasonography)
  • ตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • ตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • ตรวจแบคทีเรีย H.Pyrori ในกระเพาะอาหาร (Urea breath test)
  • ตรวจแบคทีเรีย H.Pyrori ในกระเพาะอาหารด้วยการตรวจอุจจาระ (Stool Antigen for H.Pyrori)
  • ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (EGD: Esophagogastroduodenoscopy)
  • ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
  • การส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อที่ยื่นผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร (Polypectomy)
  • การตรวจวินิจฉัยถุงน้ำดีและทางเดินน้ำดีผ่านกล้องและฉีดสีทึบรังสี: Diagnostic ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangio pancreatography)
  • การรักษามะเร็งตับด้วยการให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือด: TACE (Trans-arterial Chemo-Embolization for Hepatocellular Carcinoma)
  • การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับโดยการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ: RFA (Radio Frequency Ablation)
  • การผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง (Open Surgery)
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery)

Q : ไขมันพอกตับ คืออะไร

 A : ภาวะที่เกิดการคั่งของไขมันในเนื้อตับ อาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และพังผืดในตับ เพิ่มความเสี่ยงโรคตับแข็ง โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น จากแอลกอฮอล์ กลุ่มโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสุง กลุ่มโรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น

Q : Fibroscan คืออะไร

 A : เครื่องมือที่นำเทคโนโลยีการส่งคลื่นและวัดคลื่นความถี่บนเนื้อตับ เพื่อวัดปริมาณพังผืดในตับและไขมันพอกตับ โดยไม่ต้องเจาะเนื้อตับตรวจ

Q : ใครควรทำ Fibroscan

 A : ผู้ที่มีโรคตับอักเสบ, ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, ผู้ที่มีโรคเบาหวาน ไขมัน อ้วนลงพุง, ผู้ที่มีผลตรวจอุลตร้าซาวน์ หรือแสกนตับสงสัยไขมันพอกตับ, บุคคลทั่วไปที่ต้องการตรวจเพื่อการดูแลสุขภาพ

Q : Fibroscan ไว้ตรวจดูอะไรบ้าง

 A : ตรวจวัดระดับพังผืดในตับ และไขมันพอกตับ โดยแสดงผลเป็นตัวเลข

Q : ข้อห้าม ที่ตรวจไม่ได้

 A : มีน้ำในช่องท้อง, มีเนื้องอกที่ตับ, ตั้งครรภ์

Q : Fibroscan ต่างจาก Ultrasound อย่างไร

 A : Fibroscan คือ เครื่องที่นำมาวัดระดับไขมันและพังผืดตับ โดยแสดงผลเป็นตัวเลข, Ultrasound คือ เครื่องมือตรวจภาพอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ถุงน้ำดี นิ่ว น้ำในช่องท้อง โดยแสดงผลเป็นภาพ และแปลผลโดยรังสีแพทย์

Q : ใช้เวลาตรวจนานเท่าไร

 A : ประมาณ 15-20 นาที

Q : ทราบผลเมื่อไร

 A : ทราบผลทันทีเมื่อตรวจเสร็จ

Q : หากพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่และตัดออกได้จึงลดการเกิดมะเร็งได้ใช่หรือไม่?

 A : มีข้อมูลการศึกษาพบว่า การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ร่วมกับการตัดติ่งเนื้อนั้น ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และลดอัตราตายจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยสรุปคือ ถ้าตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ก่อนเกิดมะเร็งหรือพบมะเร็งระยะแรก จะทำให้สามารถป้องกันหรือรักษาได้อย่างทันท่วงที

Q : มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างไรบ้าง?

 A : มีวิธีการหลายอย่าง แต่มีข้อดีข้อด้อยต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น
1. การตรวจหาเลือดออกแฝงในอุจจาระข้อดีคือทำได้ง่าย ปลอดภัย ข้อด้อย คือความไวในการตรวจยังด้อยกว่าการตรวจชนิดอื่น การตรวจด้วยวิธีนี้หากพบว่าผลเป็นบวกควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป
2. การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ข้อดีคือสมารถตรวจหาติ่งเนื้อได้ตลอดทั้งลำไส้ใหญ่สามรถตัดติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ออกได้และหากพบรอยโรคผิดปกติก็สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิได้ต่อไป ข้อด้อยคือ มีความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึกขณะทำ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดหรอได้ความเสี่ยงจากกส่องกล้อง เช่น เลือดออก ลำไส้ทะลุ
3. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ข้อดีคือตรวจลำไส้ใหญ่ได้ตลอดลำไส้ เห็นพยาธิสภาพนอกลำไส้ไม่ต้องให้ยาระงับความรู้สึก ข้อด้อยคือ หากติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรอาจมีความไวต่ำลงและหากพบติ่งเนื้อจากการตรวจด้วยวิธีนี้ควรได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อตัดติ่งเนื้อออก จะเห็นได้จำมีหลายวิธี จึงแนะนำให้มาปรึกษาแพทย์

Q : จะเห็นว่าบุคคลที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมหรือเจ็บป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ก็ยังมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากมีปัจจัยทางภาวะแวดล้อมที่เข้ามา ดังนั้น บุคคลทั่วๆไปจึงควรได้รับการตรวจเพื่อหามะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือไม่อย่างไร?

 A : การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เชื่อว่ามีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน จากเนื้อเยื่อปกติเกิดเป็นติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่และพัฒนาไปเป็นมะเร็ง โดยในระยะที่เป็นติ่งเนื้อและมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะต้นๆมักไม่มีอาการแสดงให้เห็น ร่วมกับข้อมูลทางระบาดวิทยาที่พบอุบัติการณ์การเกิดโรคสูงขึ้นตามอายุ โดยกว่าร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบที่อายุ 50 ปี ขึ้นไป จึงมีแนวปฏิบัติในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป

Q : มีปัจจัยเสียงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่อย่างไร?

 A : มีทั้งปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างและปัจจัยเสี่ยงด้านภาวะแวดล้อม ได้แก่ การมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ การเจ็บป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ภาวะอ้วน การบริโภคเนื้อแดงเนื้อสัตว์แปรรูปกาสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า เป็นต้น

Q : โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้มากน้อยเพียงใด?

 A : โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของระบบทางเดินอาหร โดยมีอัตราการเกิดโรคใหม่และอัตราดายในลำดับต้นๆ ข้อมูลของประเทศไทยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2555 พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ พบเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งปอดในเพศชายและพบเป็นอันดับที่ 3 รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง และอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
รายละเอียดการเจ็บป่วย / อาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ **
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ (ถ้ามี) :
วันที่สะดวกให้ติดต่อกลับ
เวลาที่สะดวก

 ช่วงเช้า  ช่วงบ่าย

โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ