ศูนย์จักษุ

 หน้าแรก
» คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » ศูนย์จักษุ  แบ่งปันไปยัง facebook

พญ.กนกทิพย์ มันตโชติ

จักษุวิทยา
อนุสาขาจักษุวิทยาด้านกระจกตา

นพ.พลกฤษณ์ สุขะวัชรินทร์

จักษุวิทยา
อนุสาขาจักษุวิทยาโรคจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา

          ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านจักษุครบวงร ให้บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคที่เกี่ยวกับดวงตาและการมองเห็น เช่น สายตาสั้น-ยาว สายตาเอียง ตาเหล่ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง น้ำตาไหล มองเห็นภาพซ้อน โรคของกระจกตาและตาดำ ต้อเนื้อ ต้อกระจก ต้อหิน ม่านตาอักเสบ เป็นต้น พร้อมให้คำปรึกษาอย่างครอบคลุมครบวงจร การผ่าตัดแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ    ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้สามารถตรวจหาสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผ่าตัดต้อกระจก ไม่ต้องสำรองจ่าย! ไม่ต้องรอคิว!

ศูนย์จักษุครบวงจร โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ให้บริการรักษาผู้ป่วยต้อกระจก

สำหรับผู้ที่มีสิทธิข้าราชการ

สิทธิกรมบัญชีกลางแบบเบิกจ่ายตรง โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

ข้าราชการสิทธิกรมบัญชีกลางชนิดเบิกจ่ายตรง สามารถทำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ไม่ต้องรอคิว

บริการคัดกรองต้อกระจกฟรีทุกวัน!

นัดหมายหรือโทรสอบถามรายละเอียด

โทร. 085-111-8296

Facebook :  https://www.facebook.com/Chularat3EyeCenter

 

 

 

นัดหมายหรือโทรสอบถามรายละเอียด

โทร. 085-111-8296

Line ID:  085111829

Facebook :  https://www.facebook.com/Chularat3EyeCenter

Q : ต้อกระจก เกิดขึ้นได้อย่างไร?

 A : เกิดจากเลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งพบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ต้อกระจก ทำให้การมองเห็นแย่ลง ผู้ที่มีอาการของต้อกระจกมักจะมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนปกติ บางครั้งมองเห็นชัดเจนกว่าในที่มีแสงน้อย เนื่องจากอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลางในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยายแสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ ต้อกระจกสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้อีก เช่น ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไฟดูดหรือการติดเชื้อเรื้อรังที่ดวงตา และการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ สามารถทำให้เกิด “ต้อกระจก” ได้ด้วย

Q : อาการต้อกระจกมีอะไรบ้าง?

 A : - มองไม่ชัด เป็นอาการเด่นของต้อกระจก คือตาค่อยๆมัวลงอย่างช้าๆโดยไม่มีอาการอื่น อาการตามัวจะเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า เช่น เมื่อออกแดด แต่กลับมองเห็นเกือบเป็นปกติในที่มืดสลัวหรือเวลาพลบค่ำ
- เห็นภาพซ้อน แม้ว่าจะมองด้วยตาข้างเดียว เนื่องจากการหักเหของแสงไม่ลงที่จอประสาทตา
เห็นวงรอบแสงไฟ
- อ่านหนังสือต้องใช้แสงจ้า
- ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย
- เห็นฝ้าขาว บริเวณกลางรูม่านตาในผู้ที่ต้อกระจกสุก

Q : ปัจจัยเสี่ยงโรคต้อกระจกมีอะไรบ้าง?

 A : - อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- โรคเบาหวาน
- ประวัติครอบครัวเป็นต้อกระจก
- เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา
- การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
- ติดสุรา
- เจอแสงแดดมาก
- ต้องสัมผัสรังสีปริมาณมาก
- สูบบุหรี่
- เด็กที่ขาดสารอาหาร

Q : รักษาต้อกระจกอย่างไรบ้าง?

 A : การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี
1. Phacoemulsication เป็นวิธีที่นิยมที่สุด โดยการเจาะรูเล็กๆแล้วใช้เครื่อง Ultrasound สลายเลนส์และดูดออกทีละนิดจนหมด วิธีนี้แผลจะเล็ก โดยส่วนใหญ่จะไม่ต้องเย็บแผล
2. Extracapsular Cataract Extraction การผ่าตัดเป็นแผลกว้าง โดยนำเอาเลนส์ที่เสียออกทั้งชิ้น วิธีนี้แผลจะใหญ่ ต้องเย็บแผล

Q : ต้อเนื้อ คืออะไร?

 A : เป็นโรคตาที่เกิดจากการระคายเคืองตา รังสีอัลตราไวโอเลต ฝุ่นและลม ทำให้มีอาการ โดยปกติจะมีน้ำตาหล่อลื่นตลอดเวลา แต่ถ้าถูกลมหรือแสงแดดบ่อยๆตาก็จะแห้งและเกิดการเสื่อมของเยื่อบุตาขาวได้

Q : ลักษณะอาการเนื้อ มีอะไรบ้าง?

 A : เคืองตา คันตา ตาแดง แสบตา นำตาไหล ระคายเคือง ไม่สบายตาเป็นๆหายๆ ถ้าลุกลามเข้าตาดำมาก จะส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้มองเห็นไม่ชัด

Q : รักษา “ต้อเนื้อ” อย่างไรบ้าง?

 A : ต้อเนื้ออาจลามเข้าไปถึงกลางตาดำและทำให้การมองเห็นพร่ามัว มองเห็นได้ไม่ชัด ซึ่งไม่สามารถใช้เครื่องสำอางปกปิดได้ โดยมีวิธีรักษา คือ
1. ใช้ยาหยอดตา ลดอาการระคายเคืองและการอักเสบ
2. ต้อเนื้อระยะแรก ต้อเนื้องอกเข้าไปในตาดำไม่ถึง 1 ใน 3 ของความกว้างตาดำ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยสวมแว่นที่มีเลนส์ป้องกันรังสี UV และยังช่วยป้องกันลม โดยใช้ร่วมกับยาหยอดตาเพื่อควบคุมการอักเสบของต้อเนื้อ
3. ต้อเนื้องอกลุกลาม เข้าไปในตาดำเกิน 1 ใน 3 ของความกว้างของกระจกตาดำ ควรทำการผ่าตัด4. ลอกต้อเนื้อออกก่อนที่จะเข้าสู่กลางตาดำ ไม่ควรปล่อยจนต้อเนื้องอกถึงกลางตาดำ เพราะถึงจะลอกออกแล้วก็มักจะเกิดแผลเป็น ทำให้กระจกตาขุ่นมัวและการมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม
4. การผ่าตัดลอกต้อเนื้อ เป็นการผ่าตัดที่สะดวกไม่ยุ่งยาก แพทย์จะใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่และใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันทีโดยไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล

Q : การป้องกันโรคต้อเนื้อ ทำอย่างไรบ้าง?

 A : สวมแว่นเพื่อป้องกันแสงแดด ฝุ่น ลม ควัน
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- ลดการสูบบุหรี่
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรพักสายตาในขณะที่ทำงาน ด้วยการหลับตาและมองไกลประมาณ 2-3 นาทีทุกครึ่งชั่วโมง จะทำให้สบายตาขึ้น

Q : “ต้อหิน” คืออะไร

 A : “ต้อหิน” เป็นกลุ่มโรคที่มีความเสื่อมของขั้วประสาทตาอย่างต่อเนื่อง โดยระยะเริ่มต้น จะส่งผลให้การมองเห็นในส่วนของลานสายตาเสียไป คือแคบลงเรื่อยๆ จนสุดท้ายการมองเห็นในส่วนของความคมชัดของสายตาลดลงจน มองไม่เห็นในที่สุด

Q : กลุ่มเสี่ยงโรคต้อหินมีใครบ้าง?

 A : - อายุมากกว่า 40 ปี
- มีญาติสายตรงเป็นต้อหิน
- ความดันลูกตาสูง
- สายตาสั้น หรือยาวมากๆ
- เคยมีอุบัติเหตุที่ดวงตามาก่อน เช่น โดนชก ลูกบอลอัดตา ยางรัดตา หรือ อุบัติเหตุจราจรที่มีใบหน้าบริเวณเบ้าตาโดนกระแทก เป็นต้น
- ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
- สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

Q : การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์ มีกี่แบบ?

 A : 1. เครื่องเลเซอร์ชนิด YAG Laser รักษาต้อหินโดยสามารถใช้ทำ Iridotomy (รูเปิดขนาดเล็กที่ม่านตา) เพื่อช่วยในการป้องกันและรักษาต้อหินแบบมุมปิด โดยใช้เลเซอร์ยิงเพื่อให้น้ำในลูกตาระบายได้ดีขึ้น (Yag laser peripheral iridotomy) และสำหรับหลังการผ่าตัดต้อกระจกคือเลเซอร์ขัดเยื่อหุ้มเลนส์ในผู้ป่วยถุงหุ้มเลนส์ขุ่นซึ่งทำเสร็จก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ (Yag laser capsulotomy)
2 .เครื่องเลเซอร์ชนิด Argon laser เพื่อรักษาโรคต่างๆทางจอประสาทตาและต้อหินเช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา รอยฉีกขาดที่จอประสาทตา จอประสาทตาบวม
ชื่อ-นามสกุล**
อายุ**
เบอร์โทรศัพท์**
อีเมล
สถานะปัจจุบันของท่าน
 ใส่แว่นตา
 ใส่คอนแทคเลนส์
ค่าสายตาเอียง
ค่าสายตาสั้น ยาว
โค้ด**
  
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ