การบริการคลอดบุตร

 หน้าแรก
» การเตรียมตัวก่อนการรักษา » การบริการคลอดบุตร แบ่งปันไปยัง facebook
         การบริการคลอดบุตร

         การตัดสินใจเลือกสถานที่สำหรับให้ลูกน้อยลืมตามาดูโลก เป็นเรื่องสำคัญของคุณพ่อคุณแม่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จึงได้จัดเตรียมห้องคลอดที่ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย สวยงาม และมีความเป็นส่วนตัว ในบรรยากาศที่อบอุ่นเหมือนอยู่ที่บ้าน พร้อมทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความชำนาญและได้รับการอบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจได้ว่าการคลอดลูกน้อยจะสมบูรณ์และปลอดภัย และช่วงเวลาแห่งการคลอดเป็นช่วงเวลาที่พิเศษที่สุดในชีวิต

ห้องคลอด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ พร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยมีบริการดังต่อไปนี้
         - การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ว่าเป็นวิธีการคลอดที่ดีที่สุด ในกรณีที่คุณแม่มีร่างกายแข็งแรงและลูกน้อยไม่มีความผิดปกติใดๆ เนื่องจากไม่ต้องเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อ และการคลอดผ่านทางช่องคลอดจะช่วยรีดน้ำคร่ำที่อยู่ในปอดของลูกออกมาจนหมด ทำให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจ
         - การผ่าตัดคลอด เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากลูกมีขนาดโตมากหรืออยู่ในท่าที่ผิดปกติ คุณแม่มีโรคประจำตัว หรือ อื่นๆที่แพทย์พิจารณาแล้ว ว่าการคลอดธรรมชาติอาจมีความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกน้อย อย่างไรก็ดี สำหรับคุณแม่ที่สามารถคลอดเองได้แต่ต้องการผ่าตัดคลอดก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่วิธีการผ่าตัดคลอดจะทำให้คุณแม่เสียเลือดมากกว่าและเจ็บแผลนานกว่าวิธีการคลอดแบบธรรมชาติ
         ในช่วงเวลาการคลอด ทีมแพทย์ซึ่งประกอบไปด้วย สูติแพทย์ วิสัญญีแพทย์ รวมถึงพยาบาลวิชาชีพ จะให้การดูแลคุณแม่และลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และทันทีที่ลูกน้อยถือกำเนิด แผนกบริบาลทารกแรกเกิด (Nursery) จะเข้ามาดูแลสุขภาพลูกน้อยของคุณอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (NICU) โดยทีมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางจะเข้ามาดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

แนวทางการประเมินภาวะความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์

แนวทางการประเมินภาวะความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก
      - ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
 
           - ประวัติคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์)
            - ตั้งครรภ์ที่ 4 ขึ้นไป
            - เคยคลอดบุตร มีน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม หรือมากกว่า 4000 กรัมขึ้นไป
            - เคยมีประวัติแท้งตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป
            - มีประวัติโรคประจำตัว (เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,หัวใจ,ไทรอยด์)

แนวทางการประเมินภาวะความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ต่อเนื่อง
         
   - TWIN (ครรภ์แฝด)
            - GDM (เบาหวานขณะตั้งครรภ์)
            - Placenta previa (ภาวะเกาะต่ำ)
            - Pre-eclampsia (ภาวะครรภ์เป็นพิษ)
            - Anemia (Hct<30%)
            - Rh group Negative
            - ตรวจ VDRL ได้ผลบวก
            - Oligohydramios (ภาวะน้ำคร่ำน้อย)

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
            1.แจ้งประวัติโรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ รวมถึงอาหารเสริม ให้ทีมแพทย์ทราบ
            2.มีผลเลือดเตรียมตัวก่อนผ่าตัด และ ประวัติการฝากครรภ์
            3.เย็นวันก่อนผ่าตัด ให้รับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ต่างๆ เพื่อเตรียมลำไส้ให้พร้อมก่อนวันผ่าตัด
            4.คืนวันก่อนผ่าตัด ต้องงดน้ำงดอาหารทางปากทุกชนิดหลังเที่ยงคืน
            5.อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย สระผม ตัดเล็บให้เรียบร้อย ถ้าทาเล็บควรล้างเล็บออกให้เรียบร้อย
            6.ถ้ามีฟันปลอม ควรถอดออก ก่อนเข้าห้องผ่าตัด ถ้ามีฟันโยกหรือฟันปลอมติดแน่น ควรแจ้งให้ทีมวิสัญญีทราบด้วย
           7.ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดและโกนขนบริเวณหน้าท้อง และหัวเหน่า สวนถ่ายอุจจาระ (ใส่สายสวนปัสสาวะหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแล้ว)

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
       1.หลังการดมยาสลบ
                - หมั่นหายใจเข้า-ออกอย่างถูกต้องตามที่ได้รับการสอนก่อนผ่าตัด
                - เมื่อรู้สึกตัวดี ให้พยายามเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันอาการท้องอืดหลังผ่าตัด
                - ถ้าปวดแผล ท่านสามารถขอยาแก้ปวด ตลอดเวลาจากพยาบาลประจำตึก
       2.หลังการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง
                - นอนราบอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง
                - ถ้าแพทย์ไม่สั่งงดอาหารและน้ำ ให้ดื่มน้ำมากๆวันละ 2-3 ลิตร
                - หลังหายชา ถ้ามีอาการปวดท่านสามารถขอยาแก้ปวดได้ตลอดเวลาจากพยาบาลประจำตึก
                - ถ้ายังไม่ปัสสาวะหรือปัสสาวะไม่ออก หลังกลับจากห้องผ่าตัดเกินกว่า 4 ชั่วโมง ให้แจ้งพยาบาลประจำตึกทราบ

อาการที่ควรรีบมาพบแพทย์หลังผ่าตัด
                - มีอาการเจ็บแผลผ่าตัดมากขึ้น มีรอยแดง บวม ที่แผล มีเลือดซึมจากแผลผ่าตัดมากขึ้น
                - ปวดท้องมากขึ้น
                - มีไข้
                - มีปัสสาวะแสบขัด
                - น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือปริมาณเพิ่มขึ้นหรือสีแดงสดๆ หลังจากที่เคยจางลงแล้ว
                - มีอาการไอหรือหายใจลำบาก หรือมีอาหารปวดบวมที่ขา

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ